การดูแลการขับถ่ายของผู้ป่วยติดเตียง

การดูแลผู้ป่วยติดเตียงติดเตียงนั้นต้องครอบคลุมถึงสุขภาพการขับถ่าย เพราะการขับบ่ายก็สามารถบอกอาการของโรคต่าง ๆ ได้เช่นกัน อีกทั้งผู้ป่วยบางรายไม่รู้สึกตัว ไม่รู้ว่าตัวเองปวดท้องอุจจาระหรือปวดปัสสาวะ ผู้ดูแลจึงต้องหมั่นสังเกตและดูพฤติกรรมของผู้ป่วย
การดูแลสุขภาพขับถ่าย
1. ในผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวหรือช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ให้ผู้ดูแลลองคลึงหน้าท้องบริเวณลำไส้ใหญ่ของผู้ป่วย เพื่อตรวจดูว่ามีกากอาหารตกค้างในลำไส้ และสังเกตสัญญาณของผู้ป่วย เช่น กลิ่น สีของอุจจาระ เพื่อดูอาการท้องผูก ท้องร่วง
2. พยายามให้ผู้ป่วยมีการขับถ่ายทุกวัน เพื่อฝึกการขับถ่าย
3. ให้ผู้ป่วย ทานอาหารที่มีกากใยจากผัก ผลไม้ เช่น มะละกอ ส้ม แอปเปิล มะม่วง ผักคะน้า ผักกาด ดอกแค ใบเหลียง ทั้งนี้ต้องให้ทานในปริมาณที่เหมาะสม ถ้าหากทานมากไปผู้ป่วยอาจจะมีอาการท้องร่วงได้
4. ผู้ป่วยควรดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกาย เช่น 2-2.5 ลิตร ในบางรายต้องกำจัดการดื่มน้ำตามคำสั่งแพทย์ ผู้ดูแลจึงต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
5. มีบันทึกการขับถ่ายของผู้ป่วย เพราะผู้ป่วยบางรายมีอาการท้องผูกติดต่อกันหลายวัน และอาจเป็นสัญญาณของโรคแทรกซ้อนได้ การจดบันทึกจึงเป็นหลักฐานที่ทำให้ทราบถึงสุขภาพขับถ่ายของผู้ป่วย และเป็นใบยืนยันให้แพทย์ผู้ดูแล
My luck nursing home ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง จึงมีการจดบันทึกการขับถ่ายของผู้ป่วยทุกวันและดูแลโภชนาการอาหารให้ผู้ป่วยแต่ละท่านอย่างเหมาะสม อีกทั้งเรายังบันทึกอารมณ์ สภาวะจิตใจของผู้ป่วยและผู้สูงอายุ จึงวางใจได้ว่าเราเป็นศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่บริการดุจญาติมิตร เอาใจใส่อย่างใกล้ชิด
บทความที่คุณอาจสนใจ

สุขภาพช่องปาก ภัยเงียบที่ส่งผลร้ายต่อผู้สูงอายุ

อาหารเร่งฟื้นฟูสำหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัด

ดูแลเอง หรือ นำผู้สูงอายุเข้าพักเนอร์สซิ่งโฮม? แบบไหนดี ราคาคุ้มค่าหรือไม่?

ฟื้นฟูผู้สูงอายุ ด้วยท่าออกกำลังกายง่ายๆ

สร้างกำลังใจให้ผู้ป่วยติดเตียง ใจแข็งแรงช่วยกายฟื้นฟู
