4 โรคร้ายที่ต้องระวังในผู้สูงอายุ
เมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุแน่นอนว่าร่างกายย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไป ระบบอวัยวะที่สำคัญต่างๆ ในร่างกาย ทำงานเสื่อมลง ทำให้ผู้สูงอายุเกิดโรคภัยตามมา ซึ่งแต่ละโรคถือว่าเป็นโรคที่ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงสูง ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคทางสมอง โรคหัวใจ และโรคทางกระดูกนั่นเอง
โรคมะเร็งในผู้สูงอายุ
โรคมะเร็งกับผู้สูงอายุเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง ผู้ป่วยสูงอายุส่วนใหญ่หลายๆ คนมักจะเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้สุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อเรื้อรังอย่างเช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง แต่กลับตรวจพบว่าเป็นมะเร็ง ซึ่งหลัก ๆ แล้วโรคมะเร็งมักมีสาเหตุในการเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ ได้แก่
สาเหตุในการเกิดโรคมะเร็งในวัยสูงอายุ
1. สิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น สารเคมีบางชนิด รังสีอัลตราไวโอเลตในแสงแดด หรือ การติดเชื้อเรื้อรัง
2. พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การรับประทานอาหารไม่ว่าจะเป็นการดื่มแอลกอฮอล์ ทานของติดมัน อาหารปิ้งย่าง เป็นต้น
3.สภาวะทางร่างกาย ซึ่งบางสภาวะมีส่วนในการกระตุ้นเชื้อมะเร็งโดยเฉพาะสภาวะอารมณ์ เช่น ความเครียดสะสม เป็นต้น
เราสามารถปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการตรวจให้พบโรคมะเร็งตั้งแต่ระยะยังไม่มีอาการ (มักเป็นมะเร็งในระยะ 0 หรือระยะ 1) ทั้งนี้เพราะโรคมะเร็งในระยะนี้มีโอกาสรักษาได้หายสูงกว่าโรคมะเร็งในระยะอื่น ๆ การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งที่มีประสิทธิภาพ คือ การตรวจที่เมื่อพบโรคแล้ว ภายหลังการรักษาผู้ป่วยจะมีอัตรารอดจากมะเร็งสูงขึ้นหรือมีอัตราเสียชีวิตจากโรคมะเร็งลดลงนั่นเอง
-
เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน หากต้องการหนีห่างจากโรคมะเร็งการปรับเปลี่ยนรูปแบบการกินกินอาหารมีประโยชน์ครบทั้ง 5 หมู่ทุกวันในปริมาณที่เหมาะสม คือ ไม่ให้อ้วนหรือผอมเกินไป โดยจำกัดเนื้อแดง แป้ง น้ำตาล ไขมัน เกลือ แต่เพิ่มผัก ผลไม้ให้มาก ๆ รวมถึงหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ ทานผักผลไม้มากขึ้นก็สามารถช่วยป้องกันมะเร็งได้แล้ว
-
ระวังสิ่งแวดล้อม ควรหลีกเลี่ยงพื้นที่ของเชื้อโรค และหลีกเลี่ยงสารก่อมะเร็ง และข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง / การตรวจสุขภาพประจำปี
โรคทางสมองกับผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป โดยโรคสมองที่พบบ่อย ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมองตีบ/แตก และ โรคอัลไซเมอร์ เป็นต้น
1. โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต คือ ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงทำให้เกิดอาการ ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด แขนขาข้างใดข้างหนึ่งอ่อนแรงหรือชาที่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด สาเหตุเกิดจาก ภาวะอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ หรือในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
2. โรคอัลไซเมอร์ มักเกิดจากอายุที่มากขึ้น และความผิดปกติทางพันธุกรรม หรือการได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุ และสามารถเกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจได้อีกด้วย
ทั้งนี้ ควรบริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่ เลี่ยงอาหารหวาน มัน เค็ม และเพิ่มผักผลไม้ ควบคุมนํ้าหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมออกกำลังกายอย่างสมํ่าเสมอ งดลดการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์และการตรวจสุขภาพประจำปี
โรคหัวใจในผู้สูงอายุ
โรคหัวใจ เป็นโรคที่พบได้บ่อยอีกโรคของคนแก่ และยังเป็นโรคที่เป็นสาเหตุทำให้คนเสียชีวิตเป็นอันดับต้นๆในทุกประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะโรคหัวใจในผู้สูงวัย ต้องสังเกตสัญญาณเตือนของโรค มักจะมีอาการเหนื่อยง่ายเวลาออกแรง รู้สึกหอบเหนื่อย นอนราบไม่ได้ ต้องหนุนหมอนสูง แน่นหน้าอก ใจสั่น หน้ามืด เป็นลม กรณีสูงวัยมาก ๆ อาการอ่อนเพลีย เวียนหัว เบื่ออาหารที่ไม่มีสาเหตุชัดเจน อาจเป็นอาการจากโรคหัวใจได้เช่นกัน ซึ่งปัจจัย และสาเหตุการเกิดโรคนี้จะเกิดขึ้นตามชนิดของโรคหัวใจแต่ละชนิด แต่สาเหตุที่เกิดขึ้นร่วมกันก็มีอยู่ด้วยกันหลายประการ ได้แก่
สาเหตุในการเกิดโรคหัวใจ
1. พันธุกรรม และอายุที่เพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป
2. ความดันโลหิตที่สูงขึ้น
3. ระดับน้ำตาลในร่างกายที่มากจนเกินไป
4. มีความเครียดสะสม
หากเราไม่สามารถควบคุมสาเหตุในการเกิดโรคหัวใจบางประการได้ แน่นอนว่าเราควรที่จะต้องหันมาใส่ใจเรื่องการป้องกันโรคนี้ให้มากยิ่งขึ้น ได้แก่
-
พยายามลดความเครียดด้วยการทำกิจกรรมต่างๆ ที่ตนชื่นชอบ
-
ควบคุมความดันโลหิต และระดับไขมันในเลือดมากขึ้น
-
ทานอาหารประเภท ธัญพืช ผัก และผลไม้ ลดการทานไขมัน โซเดียม และน้ำตาล
-
ตรวจสุขภาพที่เกี่ยวกับการทำงานของหัวใจ เช่น การทำ EST หรือ ECHO เป็นต้น
โรคกระดูกในผู้สูงอายุ
เมื่ออายุมากขึ้นคนแก่มักจะมีปัญหาอื่นๆ ตามมาเสมอ เนื่องจากสภาพร่างกายที่เสื่อมโทรมลงทำผู้สูงอายุโรคกระดูกเป็นจำนวนมาก โดยโรคกระดูกที่ผู้สูงอายุเสี่ยงได้แก่ โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) และ โรคข้อเข่าเสื่อม (Knee Ostoearthritis) ซึ่งสาเหตุเกิดได้จาก
1. สาเหตุการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม มักเกิดจากน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ทำให้เข่าต้องแบกน้ำหนักส่วนเกินนั้น กล้ามเนื้อจึงหย่อนสมรรถภาพลง จึงทำให้เป็นโรคเข่าเสื่อมได้ง่าย เคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณเข่ามาก่อน และโรคที่ส่งผลกระทบต่อเข่า เช่น โรคเก๊าท์ หรือโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น
2. สาเหตุการเกิดโรคกระดูกพรุน โรคนี้มักเกิดกับผู้หญิงสูงอายุ โดยเฉพาะวัยหมดประจำเดือน หรือร่างกายขาดแคลเซียม และวิตามิน ฮอร์โมนที่ไม่สมดุล และการดื่มแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน เป็นต้น
การป้องกันโรคกระดูกในวัยสูงอายุ
-
รับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ โดยเฉพาะแคลเซียมและวิตามินดีซึ่งเป็นแร่ธาตุสำคัญในการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง ควรได้รับปริมาณแร่ธาตุทั้ง 2 นี้อย่างเหมาะสมตั้งแต่วัยเด็กตลอดช่วงอายุเพื่อความแข็งแรงของกระดูก ซึ่งจะสมบูรณ์ที่สุดในช่วงอายุ 20 ปีปลายๆ หรือ 30 ปีต้นๆ
-
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
-
งดสูบบุหรี่
-
หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์รวมถึงสารคาเฟอีน เนื่องจากมีผลทำลายกระดูก
-
ตรวจร่างกายเป็นประจำ โดยเฉพาะเมื่ออายุมากกว่า 50 ปีควรเข้ารับการตรวจวัดกระดูกเพื่อป้องกันการเสื่อมแต่เนิ่นๆ
“อย่าปล่อยให้คนที่เรารักเจ็บป่วยนานๆ พบแพทย์ให้ทันรักษาให้ตรงจุด และเพื่อรับมือกับโรคร้าย
My luck nursing home เราพร้อมบริการดุจคนในครอบครัว”