วิธีแก้ปัญหาผู้ป่วยติดเตียงเบื่ออาหาร

อันดับแรกผู้ดูแลต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับศักยภาพการทานอาหารของผู้ป่ยก่อน เพราะผู้ป่วยติดเตียงบางรายก็มีโรคประจำตัวซึ่งเป็นอุปสรรคต่อากรทานอาหาร ทำให้ไม่อยากอาหาร ทานได้น้อย ผู้ดูแลจึงต้องมีวาทศิลป์ในการโน้มน้าวผู้ป่วยให้มีกำลังใจในการอยากทานอาหาร เช่น ถามว่าวันนี้ผู้ป่วยอยากทานอะไร เพื่อเป็นการตามใจผู้ป่วยบ้าง หรือในกรณีที่ผู้ป่วยไม่มีเมนูในใจ เราก็สามารถทำอาหารในแบบที่เราชอบก็ได้
ถ้าหากผู้ป่วยทานน้อยมาก ๆ เราควรทำความเข้าใจและไม่คะยั้นคะยอเกินไป เพราะผู้ป่วยบางรายร่างกายสามารถรับอาหารได้เท่านี้ หากให้ผู้ป่วยทานมากเกินควมต้องการของกระเพาะจะส่งผลต่อระบบขับถ่ายของผู้ป่วยได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยทานน้อยผู้ดูแลสามารถเสริมด้วยนมจืด หรือนมที่มีส่วนประกอบของวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายเพื่อทดแทนสารอาหาร
ดังนั้นผู้ดูแลจึงต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับศักยภาพทางร่างกายของผู้ป่วย ให้กำลังใจที่ดี และตามใจผู้ป่วยบ้างเพื่อเป็นการเติมเต็มความสุขเล็ก ๆ ของผู้ป่วย มายลักษณ์เนิร์สซิ่งโฮม ศูนย์ดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุจึงมีทีมแพทย์และพยบาลที่เข้าใจทุกความรู้สึกของผู้ป่วย ด้วยประสบการณ์ทำงานมายาวนาน จึงมั่นใจได้เลยว่าผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่เราดูแลจะมีพลังใจ พลังกายที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน
บทความที่คุณอาจสนใจ

รับสมัครผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ พยาบาลดูแลผู้ป่วย และผู้สูงอายุ ประจำศูนย์มายลักษณ์

เนอร์สซิ่งโฮม ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ศูนย์ดูแลผู้ป่วยมายลักษณ์ รับสมัครพนักงานหลายอัตรา

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่ดี ต้องมีอะไรบ้าง?

การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย เนอร์สซิ่งโฮมช่วยอะไรได้บ้าง?

ภาวะกลืนลำบากในผู้สูงอายุ วิธีปรับอาหารและการดูแลเพื่อลดความเสี่ยงสำลัก
