โรคหัวใจในผู้ป่วยสูงอายุ
2,113 views | 4 ปีที่แล้ว
โรคหัวใจเป็นโรคหนึ่งที่เกิดจากความเสื่อมของเนื้อเยื่อ “เมื่ออายุมากขึ้นเนื้อเยื่อมีความเสื่อมมากขึ้นก็อาจส่งผลให้เกิดโรค” อาจไม่จำเพราะเพียงแค่โรคหัวใจ ซึ่งทางการแพทย์สำหรับอายุที่มากขึ้นส่งผลทำให้เกิดความเสื่อมของอวัยวะหรืออีกนัยหนึ่งคือคนที่มีอายุยังน้อยแต่อวัยวะอาจมีการใช้งานที่หนักหรือเกิดความเสื่อมขึ้นก็ทำให้เกิดโรคได้เช่นเดียวกัน
โรคหัวใจสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัยในสาเหตุที่แตกต่างกัน แต่สำหรับผู้สูงอายุส่วนใหญ่เกิดจากความเสื่อมของเนื้อเยื่ออย่างที่กล่าวไปข้างต้นและด้วยอายุที่มากขึ้นพบว่านอกจากเรื่องของความเสื่อมตามอายุแล้ว ยังมีเรื่องของสภาพแวดล้อม รวมถึงการไม่ออกกำลังกายที่ทำระบบเลือดและหัวใจทำงานไม่เต็มสมรรถภาพและส่งผลต่อการเกิดโรคหัวใจในหลายประเภท แต่ที่จะกล่าวถึงในวันนี้จะกล่าวถึงประเภทโรคหัวใจที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ได้แก่
1. หัวใจล้มเหลว
หัวใจล้มเหลวสาเหตุมาจากกลุ่มอาการทางโรคหลอดเลือดและโรคหัวใจที่พบได้บ่อย เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ นอกจากนี้ยังมีความดันโลหิตสูง โรคลิ้นหัวใจ และการติดเชื้อของกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจสูบฉีดเลือดลดลง
การสูบฉีดเลือดลดลงส่งผลให้ปริมาณเลือดไหลผ่านร่างกายลดลง หัวใจทำงานหนักเพื่อขยายตัวแต่ได้ไม่นานก็อ่อนแรงและไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ในแต่ละครั้ง เนื่องจากหัวใจที่อ่อนกำลังจะสูบฉีดเลือดได้น้อยลงทำให้ออกซิเจนที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ลดลง ซึ่งเป็นวงจรที่ทำให้หัวใจอ่อนกำลังลงและเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว
2. โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันมีสาเหตุมาจากการที่หลอดเลือดมีไขมัน คอเลสเตอรอล ตะกอน หรืออื่น ๆ เกาะตัวที่ผนังหลอดเลือด ซึ่งอาจใช้เวลาในการสะสมตั้งแต่ 7-10 ปี กว่าจะแสดงอาการที่ทำให้เหนื่อยง่ายจากกิจกรรมปกติที่เคยทำ เช่น เคยเดินจากป้ายรถเมล์ไปที่ทำงานโดยไม่รู้สึกเหนื่อย แต่อยู่ ๆ ก็มีอาการเหนื่อย แน่นหน้าอก ปวดร้าวไปที่กราม หรือทางแขนด้านซ้าย
3. โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ
โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เนื่องจากความเสื่อมของลิ้นตามอายุ นำไปสู่การเกาะของหินปูนบริเวณลิ้นทำให้ลิ้นขยับเปิดปิดได้ลำบากไม่เป็นไปตามปกติ ซึ่งสามารถพบในผู้ป่วยบางรายมีลิ้นหัวใจพิการหรือผิดปกติแต่กำเนิดได้เช่นกัน
ลิ้นหัวใจเอออร์ติกเป็นลิ้นหัวใจที่สำคัญเพราะเป็นทางผ่านของเลือดออกจากหัวใจไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ถ้าลิ้นหัวใจไม่สามารถเปิดปิดได้ดีตามปกติจะทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายลดลง หรือทำให้หัวใจทำงานได้ไม่เต็มที่และอาจเกิดปัญหาหัวใจล้มเหลวตามมาได้
4. โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นกรรมพันธุ์ ความเสื่อมของอวัยวะที่มักพบในผู้สูงอายุ ยาและโรคบางชนิดทางหลอดเลือดหรือหัวใจ ซึ่งโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะปกติเป็นโรคหัวใจที่เกิดจากตำแหน่งบางตำแหน่งในหัวใจเกิดกระแสไฟฟ้าผิดปกติ หรือลัดวงจรภายในหัวใจเป็นความผิดปกติเล็ก ๆ ที่ไม่กระทบการทำงานของหัวใจ
เราสามารถพบแพทย์ตรวจการเต้นของหัวใจว่าเร็วสูงกว่า 60 ครั้ง/นาที หรือเต้นช้าต่ำกว่า 60 ครั้ง/นาที หรือไม่ และสังเกตอาการวูบ ใจหวิว ความดันต่ำ เหนื่อยง่ายร่วมด้วย หากจะเทียบความแตกต่างระหว่างโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะกับโรคหัวใจชนิดอื่น เช่น ที่ลิ้นหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ หรือหลอดเลือดหัวใจ พบว่าหัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นความผิดปกติที่ไม่ร่วมกับพยาธิสภาพขนาดใหญ่เหมือนชนิดอื่น ๆ
อย่างที่ทราบกันดีว่าโรคหัวใจเป็นโรคที่อยู่ภายในอาจไม่เห็นได้ด้วยตา แต่หากสังเกตอาการเหล่านี้กับคนรอบตัวที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงอย่างผู้สูงอายุ เราอาจพบความผิดปกติจากสัญญาณของโรคตามกลุ่มอาการเหล่านี้
1. อาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก
2. อาการเหนื่อยง่าย เมื่อต้องออกแรง
3. อาการหอบเหนื่อยเวลานั่งพัก หรือเวลานอนไม่สามารถนอนราบกับพื้นต้องหนุนหมอนสูง
4. อาการหน้ามืด ใจสั่น หรืออาจถึงขั้นเป็นลม
นอกจากนี้ถ้าหากเราพบว่าผู้สูงอายุใกล้ตัวเรามีอาการอ่อนเพลีย เวียนหัว คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหารโดยไม่รู้สาเหตุ
เหล่านี้เป็นอาการที่แสดงออกมาโดยมีสาเหตุมาจากการเป็นโรคหัวใจ
เหล่านี้เป็นอาการที่แสดงออกมาโดยมีสาเหตุมาจากการเป็นโรคหัวใจ
จากลักษณะอาการของโรคหัวใจได้แสดงให้เห็นว่าเราไม่ควรละเลยต่ออาการของโรค ควรเฝ้าสังเกตอาการของผู้สูงอายุและหากสงสัยว่ามีความผิดปกติ การพาผู้สูงอายุไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการรักษาจะดีที่สุด
ในทางการรักษาการดูแลเอาใจใส่จากญาติผู้ป่วยและการรักษาทางการแพทย์ ควรมีผู้ที่มีความรู้มาช่วยดูแลในกรณีที่เราไม่สามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างใกล้ชิด การเลือกศูนย์ดูแลผู้ป่วยเป็นตัวช่วยก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เราสามารถไว้วางใจให้ดูแลคนที่เรารักได้อีกทาง
“การที่คนเราต้องป่วยก็เป็นทุกข์มากอยู่แล้ว ถ้ายิ่งมาป่วยด้วยโรคหัวใจตอนแก่คงเป็นสิ่งที่ไม่น่ารื่นรมย์สักเท่าไร เพราะจากคนที่เคยมีคุณภาพชีวิตที่ดีมาก่อน เมื่อต้องมาป่วยชนิดที่เข้าห้องน้ำก็เหนื่อย เล่นกับหลาน ๆ ก็ไม่สู้จะไหว ทำให้สูญเสียช่วงเวลาแห่งความสุขในชีวิตไปไม่น้อย ที่ My luck nursing home เราพร้อมบริการดุจคนในครอบครัว”
บทความที่คุณอาจสนใจ
อย่าปล่อยให้ผู้สูงอายุล้ม เพราะอาจเกิดปัญหาต่างๆตามมา
828 views | 3 ปีที่แล้ว
วิธีแก้ปัญหาผู้ป่วยติดเตียงเบื่ออาหาร
748 views | 2 ปีที่แล้ว
อาหารเร่งฟื้นฟูสำหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัด
5,280 views | 2 ปีที่แล้ว
อย่าเฉย!! อาการมือชา เท้าชา สัญญาณเตือนโรคภัย
1,211 views | 1 ปีที่แล้ว
กิจกรรมผู้สูงอายุสนุกๆ มีอะไรบ้าง? มาลองดูไอเดียกัน
5,646 views | 6 เดือนที่แล้ว