การดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพให้กับผู้ป่วยนอนติดเตียง
3,111 views | 4 ปีที่แล้ว
ผู้ป่วยนอนติดเตียงมีทั้งผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้และผู้ที่ช่วยเหลือตัวเองได้โดยใช้อวัยวะบางส่วน ซึ่งการดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพให้กับผู้ป่วยนอนติดเตียงคือการที่จะต้องดูแลทั้งสมรรถภาพทางกายและทางใจไปพร้อม ๆ กัน
สิ่งที่ทำให้ผู้ป่วยต้องนอนติดเตียงมักมาจากสาเหตุที่แตกต่างกัน เช่น สาเหตุจากโรคหลอดเลือดสมองการผ่าตัด หรือการประสบอุบัติเหตุ ซึ่งแต่ละสาเหตุที่กล่าวมาจะเกิดได้จากภาวะในร่างกายที่ผิดปกติ หรืออาจเกิดจากความประมาทของผู้ป่วยเองที่ได้ทำให้เป็นเช่นนั้น
การดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพให้กับผู้ป่วยนอนติดเตียงจะต้องดูแลให้ครอบคลุม เนื่องจากการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย เพื่อให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้และกลับมามีวิถีชีวิตปกติหรือใกล้เคียงเดิมได้มากที่สุด ทั้งเรื่องความเป็นอยู่ เรื่องสุขภาพทางกาย สุขภาพใจ การับประทาน การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยหรือผู้ที่ดูแลผู้ป่วย หากท่านมีผู้ที่อยู่ในความดูแลสามารถนำวิธีดังต่อไปนี้ใช้ดูแลผู้ป่วยในความดูแลของท่านได้เลยค่ะ
การรับประทาน
อาหารการกินเป็นส่วนหนึ่งของปัจจัย 4 ที่มนุษย์จะต้องมี และการกินก็มีผลต่อการมีชีวิตอยู่ ผู้ป่วยติดเตียงนอกจากจะต้องรับประทานอาหารที่อ่อนและย่อยง่ายแล้ว ท่าทางในการรับประทานอาหารอย่างการประคองหรือปรับเตียงให้หลังผู้ป่วยตั้งตรงขณะที่รับประทานอาหาร ก็จะช่วยให้อาหารที่ทานได้สะดวกมากขึ้น หากไม่ทำตามนี้อาจทำให้ผู้ป่วยสำลักหรือปอดอักเสบได้และหลังจากทานอาหารแล้วควรนั่งอยู่ในท่าดังกล่าวราว ๆ 1-2 ชั่วโมง ก่อนจะให้นอนขนานกับพื้นเตียงหรือที่นอนตามปกติ
การนอน
การนอนสำหรับผู้ป่วยติดเตียงมักทำให้เกิดแผลกดทับตามร่างกาย เช่น สะโพก ต้นขา ส้นเท้าและตาตุ่ม ซึ่งเป็นบริเวณที่เป็นปุ่มกระดูกเมื่อถูกกดทับเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดแผล
เมื่อเกิดแผลระดับความรุนแรงของแผลดังกล่าวมีตั้งแต่ผิวหนังไม่ฉีกขาดแต่มีรอยแดงที่มีระดับความรุนแรงที่น้อย ผิวหนังหลุดลอกบางส่วนมีแผลตื้น ๆ หรืออาจสูญเสียผิวหนังบริเวณนั้นไปทั้งหมด หรืออาจถึงขั้นที่รุนแรงมากและสูญเสียผิวหนังไปทั้งหมดจนถึงชั้นกล้ามเนื้อ เอ็นและกระดูก
เมื่อเกิดแผลระดับความรุนแรงของแผลดังกล่าวมีตั้งแต่ผิวหนังไม่ฉีกขาดแต่มีรอยแดงที่มีระดับความรุนแรงที่น้อย ผิวหนังหลุดลอกบางส่วนมีแผลตื้น ๆ หรืออาจสูญเสียผิวหนังบริเวณนั้นไปทั้งหมด หรืออาจถึงขั้นที่รุนแรงมากและสูญเสียผิวหนังไปทั้งหมดจนถึงชั้นกล้ามเนื้อ เอ็นและกระดูก
ดังนั้นควรดูแลด้วยให้ผู้ป่วยพลิกตะแคงเปลี่ยนท่าทุก 2 ชั่วโมง โดยไม่ลากหรือทำให้เกิดการเสียดสีที่จะทำให้เกิดแผลจะเป็นการดูแลและฟื้นฟูสภาพทางร่างกายไม่ให้มีระดับความรุนแรงที่มากขึ้น ซึ่งส่งผลดีโดยตรงต่อผู้ป่วยติดเตียง
การขับถ่าย
การขับถ่ายเป็นอีกส่วนหนึ่งที่มีส่วนทำให้ผู้ป่วยเกิดการติดเชื้อได้ เพราะผู้ป่วยบางท่านไม่สามารถลุกเข้าห้องน้ำเองได้ หรือลุกได้แต่ก็ไม่สะดวกเพราะลักษณะทางกายภาพ
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะใส่ไดเปอร์ (Diaper) หรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป เพื่อความสะดวกสบายในการขับถ่าย แต่สิ่งที่ต้องเสี่ยงตามมาหากไม่มีการเปลี่ยนผ้าอ้อมสำเร็จรูปชิ้นใหม่ทันทีอาจเกิดหมักหมมของมูลหรือของเหลวที่ขับถ่ายออกมา และเมื่อมีแผลดังกล่าวก็อาจทำให้แผลติดเชื้อจากสิ่งสกปรกที่ขับถ่ายออกมาในที่สุด
การดูแลจึงควรเปลี่ยนผ้าอ้อมสำเร็จรูปทุกครั้งที่มีการขับถ่ายไม่ว่าจะขับถ่ายเป็นมูลหรือของเหลวก็ตาม เพื่อลดการระคายเคืองซึ่งจะนำไปสู่การเกิดแผลและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อของผู้ป่วยติดเตียงอีกด้วย
การออกกำลังกาย
สำหรับผู้ป่วยติดเตียงแล้ว การที่ต้องใช้ชีวิตบนเตียงทั้งวันทั้งคืนคงเป็นสิ่งที่สร้างความรู้สึกแย่ให้กับผู้ป่วยไม่มากก็น้อย เพราะไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามต้องการและต้องอยู่กับที่เป็นเวลานานหรือบางคนอาจจะทั้งชีวิตที่เหลืออยู่
สิ่งที่จะช่วยให้ผู้ป่วยติดเตียงมีสภาพทางร่างกายและจิตใจที่ดีคือการทำให้ผู้ป่วยมีความสุขและสามารถดำรงชีวิตอยู่กับสิ่งที่เป็นได้ โดยการทำกายภาพบำบัดหรือออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวบ้าง
นอกจากนี้ยังมีผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ยิ่งต้องให้กำลังใจกันมาก ๆ โดยการชวนพูดคุยหรือเล่าเรื่องราวที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกผ่อนคลายสบายใจ ซึ่งจะช่วยลดความเครียดจากสิ่งที่เผชิญได้หรือมีกำลังใจในการต่อสู้จนสามารถฟื้นตัวจนกลับมาใช้ชีวิตปกติได้ด้วยกำลังกายและกำลังใจดังที่กล่าวมา
การดูแลผู้ป่วยที่กล่าวไปเป็นเพียงบางส่วนที่สามารถนำไปปฏิบัติตามได้ แต่การจะดูแลผู้ป่วยมีกลุ่มอาการที่แตกกันทำให้การดูแลและฟื้นฟูอาจมีการปฏิบัติที่แตกต่างกันตามกลุ่มอาการ ทั้งนี้การปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้รู้ในด้านนี้โดยตรงจะทำให้การรักษา การดูแลและฟื้นฟูเป็นไปได้อย่างราบรื่นและฟื้นตัวได้ดีผู้ป่วยสุขกายสบายใจ บุตรหลาน ญาติพี่น้องก็สบายใจไปด้วยนั่นเอง
บทความที่คุณอาจสนใจ
โรคซึมเศร้าในวัยผู้สูงอายุ
1,947 views | 5 ปีที่แล้ว
5 สมุนไพรไทย(บ้านๆ) ที่ไม่บ้านอย่างที่คิด
2,343 views | 5 ปีที่แล้ว
กินอะไรเสี่ยงต่อการเป็นเก๊าท์ ? เรามีคำตอบ
4,024 views | 4 ปีที่แล้ว
4 โรคร้ายที่ต้องระวังในผู้สูงอายุ
1,163 views | 3 ปีที่แล้ว
5 ปัญหาสุขภาพจิตที่พบบ่อยในวัยสูงอายุ
2,722 views | 2 ปีที่แล้ว