สุขภาพช่องปาก ภัยเงียบที่ส่งผลร้ายต่อผู้สูงอายุ

หลายคนอาจจะเคยเห็นผู้สูงอายุในบ้านมีอาการปวดฟัน เสียวฟัน หรือฟันหลุด ซึ่งอาการเหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณของการเสื่อมถอยของร่างกายที่เราไม่ควรข้าม เพราะมีผู้สูงอายุหลายรายต้องเผชิญกับปัญหาในช่องปากที่ลุกลามไปบริเวณส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จนเกิดเป็นโรคแทรกซ้อน ซึ่งปัญหาสุขภาพช่องปากที่พบบ่อยมีดังนี้
ฟันผุ
เป็นลักษณะที่เกิดขึ้นได้กับทุกช่วงวัย แต่วัยผู้ใหญ่ วัยสูงอายุกับปัญหาพบฟันผุมากถึงร้อยละ 51 และผุบริเวณรากฟันเพิ่ม และส่งผลกระทบต่อโพรงประสาทฟัน ทำให้ต้องถอนฟัน อุดฟัน ในบางรายที่มีการถอนฟันเยอะก็จะส่งผลต่อการเคี้ยวอาหาร เป็นปัญหาแบบลูกโซ่ที่ส่งผลต่อสุขภาพ เราจึงต้องกำชับให้ผู้สูงอายุแปรงฟันวันละ 2 คร้ง และงดอาหารหวานหลังแปรงฟัน 2 ชั่วโมง
ฟันหลุด
เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่พบได้บ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ แก้ได้ด้วยการใส่ฟันปลอมทดแทนฟันที่สูญเสีย หากปล่อยทิ้งไว้จะส่งผลต่อการเคี้ยวอาหารของผู้สูงอายุและความอยากอาหารลดลง เพราะเคี้ยวไม่ได้
เสียวฟัน
มักมาพร้อมอาการเหงือกร่นทำให้ตัวฟันในส่วนนั้นไวต่อความรู้สึก ผิวฟันบาง ทำให้เสียวฟันเวลาทานอาหารร้อน ๆ หรือดื่มน้ำเย็น ทำให้เสียบรรยากาศและอรรถรสในการทานอาหาร สามารถแก้ได้ด้วยการใช้ยาสีฟันเพื่อลดอาการเสียวฟัน
ปากแห้ง
ส่งผลกระทบต่อผิวบริเวณริมฝีปาก เพราะผู้สูงอายุบางรายมักมีพฤติกรรมแกะ ลอกผิวปากที่แห้งเป็นขุย ทำให้มีเลือดออก และอาจติดเชื้อได้ ซึ่งสาเหตุของปากแห้งส่วนใหญ่มักเป็นผลข้างเคียงจากการทานยารักษาโรคประจำตัวบางชนิด การดื่มน้ำน้อย จึงต้องคอยกำชับและดูแลให้ผู้สูงหมั่นดื่มน้ำให้เพียงพอต่อร่างกาย และทาลิปบาล์มพเื่อรักษาความชุ่มชื้นของริมฝีปาก
ดังนั้นปัญสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะช่องปากถือเป็นด่านแรกที่รับสารอาหารเข้ามาในร่างกาย หากช่องปากสกปรก อ่อนแอ ก็จะทำให้ติดเชื้อและเกิดภาวะต่าง ๆ ที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยพักฟื้นอย่างมายลักษณ์เนิร์สซิ่งโฮมจึงมีมาตรการในการดูแลผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิด เอาใจใส่ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ บริการและเอาใจใส่ดุจญาติมิตรด้วยทีมแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ
บทความที่คุณอาจสนใจ

เนอร์สซิ่งโฮม (Nursing Home) คือ อะไร ?

โรคซึมเศร้าในวัยผู้สูงอายุ

การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ตอนที่ 2

การเลือกศูนย์ดูแลผู้ป่วยและศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่ดี ต้องดูอะไรบ้าง

มารู้จักภาวะกลืนลำบากในผู้สูงอายุ กับ 5 วิธีแก้ปัญหา
