การดูแลผู้สูงอายุที่เป็นอัลไซเมอร์หรือโรคสมองเสื่อม
1,654 views | 4 ปีที่แล้ว
การหลงลืมอะไรบางอย่างเพียงชั่วขณะอาจไม่มีผลต่อการดำรงชีวิต แต่หากลืมถึงขั้นจำไม่ได้ทั้งความทรงจำระยะสั้นและลืมความทรงจำในอดีตไม่ใช่เรื่องปกติ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดว่าอัลไซเมอร์กลุ่มหนึ่งของโรคสมองเสื่อมที่ส่งผลต่อการทำงานของสมองลดลง อาการเด่นชัดในเรื่องความเสื่อมของความทรงจำ การแก้ปัญหา ภาษา การควบคุมพฤติกรรมและอารมณ์ที่มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ สามารถแบ่งระยะอาการโรคสมองเสื่อมได้ 3 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 ภาวะสมองเสื่อมระดับเล็กน้อย
เป็นลักษณะของการหลงลืมความทรงจำในระยะสั้น จำเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่ได้ เช่น วางกุญแจไว้ที่ไหน จำสถานที่ที่คุ้นเคยไม่ได้ แต่ยังสามารถจำความทรงจำในอดีตที่ผ่านมาได้ดี การใช้ชีวิตในสังคมบกพร่องอย่างเห็นได้ชัด การใช้ชีวิตกิจวัตรประจำวันของตนเองและการตัดสินใจยังทำได้ดี
ระยะที่ 2 ภาวะสมองเสื่อมระดับปานกลาง
เป็นระยะที่มีความเสื่อมของสมองมากขึ้นทำให้บกพร่องในความสามารถในการเรียนรู้ การคิด การแก้ปัญหารวมถึงการตัดสินใจ เช่น ด้านการคำนวณ การกะระยะ กิจวัตรที่เคยทำได้ก็ไม่สามารถทำได้ เช่น การเปิดโทรทัศน์ การปล่อยให้น้ำล้นโอ่งโดยไม่สามารถแก้ปัญหาได้
ระยะที่ 3 ภาวะสมองเสื่อมระดับขั้นรุนแรง
เป็นระยะที่ผู้ป่วยจะไม่สามารถจำอะไรได้เลย เช่น กินข้าวแล้วไม่กี่นาทีบอกว่ายังไม่ได้กิน จำชื่อญาติพี่น้องไม่ได้แม้แต่ตนเองก็จำไม่ได้ เดินหลงทางในบ้านตนเอง ไม่สามารถกั้นปัสสาวะและอุจจาระได้ และอาจมีโรคแทรกซ้อนที่ก่อให้เกิดอันตรายได้ การเอาใจใส่จากญาติพี่น้องคือเข้าใจว่าอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากการแกล้งทำ แต่เกิดจากความเสื่อมของสมองที่ทำให้เป็นเช่นนั้น
การดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมควร
1.ดูแลเรื่องของกิจวัตรประจำวัน เพราะไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ เช่น กินข้าว อาบน้ำ ติดกระดุม พื้นต้องเรียบกันการลื่นจนเกิดอุบัติเหตุ ควรจัดกิจวัตรประจำวันและฝึกให้ทำเป็นประจำเวลาเดิม วิธีการขั้นตอนเหมือนเดิมทุกวัน
2.ดูแลเรื่องความเครียดที่เกิดจากความกังวล การลืมตัวตนหรือไม่รู้จักตนเอง สมองเสื่อมมากเข้าหากมีอาการจิตประสาทหลอน บางรายก้าวร้าว ซึมเศร้าควรพบจิตแพทย์
3.ช่วยเหลือดูแลในการสื่อสาร ควรปิดเสียงรบกวนระหว่างสนทนากับผู้สูงอายุที่ป่วย ฟังอย่างมีสมาธิและใช้คำถามไม่ซับซ้อน
ความใส่ใจจากคนในครอบครัวมีความสำคัญมากแลต้องดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ จึงควรมีผู้ช่วยดูแลจะทำให้สามารถสังเกตพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้ป่วยและช่วยยับยั้งเหตุการณ์ที่อาจจะทำให้ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บหรืออันตรายได้ทันท่วงที
บทความที่คุณอาจสนใจ
การเลือกศูนย์ดูแลผู้ป่วยและศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่ดี ต้องดูอะไรบ้าง
2,118 views | 4 ปีที่แล้ว
วิธีแก้ปัญหาผู้ป่วยติดเตียงเบื่ออาหาร
748 views | 2 ปีที่แล้ว
คำแนะนำสำหรับการพักฟื้นหลังผ่าตัด
972 views | 1 ปีที่แล้ว
สัญญาณเข้าสู่อาการวัยทองในผู้หญิง กับช่วงประจำเดือนหมด และอาการอื่น ๆ ที่ต้องเตรียมรับมือ
663 views | 1 ปีที่แล้ว
อาการผมร่วง สัญญาณอันตราย! บอกถึงภัยร้ายที่อาจมาเยือน
1,006 views | 1 ปีที่แล้ว