อย่าปล่อยให้ผู้สูงอายุล้ม เพราะอาจเกิดปัญหาต่างๆตามมา
ปัญหาการหกล้มในผู้สูงอายุ เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นได้บ่อย เนื่องจากความเสื่อมถอยของร่างกายตามวัย ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรงและทรงตัวได้ไม่ดีพอ การหกล้ม เกิดจากการสูญเสียการทรงตัวของผู้สูงอายุ ทำให้แขน ขา ศีรษะ หรือส่วนอื่น ๆ เกิดการกระแทกกับพื้นหรือสิ่งของต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บทั้งมากและน้อย กรณีที่เลวร้ายที่สุดคือการเสียชีวิต จากสถิติยังพบว่ามีผู้สูงอายุเสียชีวิตจากการหกล้มเฉลี่ย 3 คนต่อวัน แต่ปัญหาดังกล่าวสามารถป้องกันและแก้ไขได้หากเข้าใจถึงความเสี่ยงและการดูแลที่เหมาะสม
ผลกระทบและปัญหาจากการหกล้มของผู้สูงอายุ
- ด้านร่างกาย ทำให้เกิดการบาดเจ็บ ตั้งแต่บาดเจ็บเล็กน้อย เช่น ฟกช้ำ เกิดแผล จนกระทั้งบาดเจ็บรุนแรง
- ด้านจิตใจ ผู้สูงอายุจะไม่มีความมั่นใจในตนเอง หลีกเลี่ยงการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น แยกตัว และไม่เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม อาจเกิดภาวะซึมเศร้าทำให้ช่วยเหลือตัวเองได้ลดลง
- ด้านเศษฐกิจ สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และถ้าหากมีภาวะแทรกซ้อน อาจทำให้ต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาลนานขึ้นและเสียค่าใช้จ่ายสูง
วิธีการป้องกัน
1.ส่งเสริมการออกกำลังกายให้กับผู้สูงอายุ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ช่วยให้ร่างกายมีความแข็งแรงมากขึ้น และยังเป็นการเพิ่มความสามารถในการเคลื่อนที่ และทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง แต่ต้องเลือกท่าทางให้เหมาะกับบุคคลด้วย เช่น ถ้าหากมีปัญหาเข่าเสื่อมควรหลีกเลี่ยงการวิ่ง เป็นต้น
2.การปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในและรอบบ้าน แสงสว่างที่ใช้ในบ้านควรมีแสงสว่าง ในบ้านให้เพียงพอ พื้นทางเดินในบ้านควรเป็นพื้นเรียบไม่ลื่น ไม่ลงน้ำมันหรือขัดเงา เพราะจะทำให้ลื่นง่าย ดูแลจัดไม่ให้มี สิ่งกีดขวางที่เป็นอุปสรรค พื้นห้องน้ำควรมีการปูพื้นกันลื่น และควรติดตั้งราวจับไว้สำหรับจับบริเวณที่นั่งถ่าย หรือที่อาบน้ำ เป็นต้น
3.การให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ สังเกตว่าผู้สูงอายุในบ้านมีความเปลี่ยนแปลงในร่างกายด้านไหนบ้าง เช่น เคลื่อนไหวไม่ถนัด ทรงตัวไม่ดี เวียนศีรษะ จากนั้นก็ทำการปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุ ดูแลเรื่องอาหาร เลือกอาหารที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ เช่นอาหารอ่อนที่สามารถย่อยง่าย เน้นอาหารประเภทโปรตีนเพื่อสร้างซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต การเปลี่ยนอิริยาบถต่างๆ จากการนอนควรค่อยๆ ลุกนั่งอย่างช้าๆ หลีกเลี่ยง การแหงนหน้า การเหลียวซ้ายและ เพราะอาจทำให้หน้ามืดเป็นลมและตกเตียงหรือหกล้มได้ รวมทั้งการเดิน การเคลื่อนไหวต่างๆ ไม่ควรรีบร้อน ควรใช้มืออีกข้างจับราวบันไดจะช่วยยึดเหนี่ยวพยุงตัว หากเกิดสะดุดหรือลื่นจะช่วยป้องกันหกล้มได้ และควรมีการเตรียมเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉิน ที่จำเป็นไว้ประจำตัว หรือติดไว้ในบ้านในที่ๆ สามารถ มองเห็นได้ชัดเจนเช่น เบอร์โทรศัพท์ของลูกหลาน หรือญาติ เพื่อขอความช่วยเหลือในกรณีผู้สูงอายุ เกิดภาวะฉุกเฉินหกล้ม