สร้างกำลังใจให้ผู้ป่วยติดเตียง ใจแข็งแรงช่วยกายฟื้นฟู

กำลังใจ สำคัญอย่างไร?
การดูแลผู้ป่วยติดเตียง ไม่เพียงเป็นการดูแลแต่สุขภาพกายของผู้ป่วยเท่านั้น เเต่เรื่องการดูแลสภาพจิตใจนั้นก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ในวันที่ผู้ป่วยต้องนอนติดเตียงอยู่อาจมีความรู้สึกท้อแท้หรือหมดหวังในบางครั้ง เป็นเรื่องที่สำคัญมากที่ผู้ดูแลจะสร้างกำลังใจให้กับผู้ป่วย เติมเต็มพลังบวกให้ผู้ป่วยจิตใจแข็งแกร่งและมีพลังสู้ต่อไป สร้างแรงบันดาลใจให้ก้าวผ่านอุปสรรคครั้งนี้ไปให้ได้ ทำให้ผู้ป่วยติดเตียงรู้สึกไม่โดดเดี่ยวในช่วงเวลาที่ยากลำบาก
วิธีสร้างกำลังใจให้กับผู้ป่วยติดเตียง
1. พูดคุยและให้กำลังใจอย่างสม่ำเสมอ
คำพูดคือสิ่งสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วย มั่นพูดบ่อยๆ เช่น คุณเก่งมาก, คุณทำได้, วันนี้ทำได้ดีกว่าเมื่อวานอีกนะ หรือ วันนี้คุณแข็งแรงขึ้นนะ คำพูดพวกนี้จะช่วยเพิ่มกำลังใจให้เค้ารู้สึกว่ากำลังพัฒนา ก้าวไปข้างหน้า
2. การสร้างบรรยากาศที่อบอุ่น
คอยสร้างบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความรักและความอบอุ่น คอยอยู่ข้างๆ ให้กำลังใจและให้ความช่วยเหลือผู้ป่วย หรือ นำสิ่งที่ผู้ป่วยชอบมาวางใกล้ๆ จะช่วยให้รู้สึกถึงความใส่ใจ ไม่โดดเดี่ยว
3. ตั้งเป้าหมายเล็กๆ ให้กับผู้ป่วย
ลองตั้งเป้าหมายที่คิดว่าผู้ป่วยสามารถทำได้ในแต่ละวัน เช่น การยืดแขน-ยืดขาเล็กน้อย หรือ ฝึกหายใจเข้า-ออก ลึกๆ เพื่อให้รู้สึกถึงความสำเร็จ จากนั้นเมื่อผู้ป่วยทำสำเร็จคุณก็พูดให้กำลังใจ เช่น “วันนี้เก่งมากเลย” เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีความเชื่อมั่นในการฟื้นฟู
4. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการฟื้นฟู
อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงกระบวนการฟื้นฟูและสิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละระยะเวลาจะช่วยให้เขามองเห็นภาพรวม ไม่รู้สึกท้อแท้ และการพูดถึงความสำเร็จที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตจะช่วยสร้างความหวังให้กับผู้ป่วย
5. เป็นผู้ฟังที่เข้าใจ
ทำความเข้าใจและยอมรับความรู้สึกของผู้ป่วย ฟังในสิ่งที่เข้าพูดออกมาอย่างตั้งใจ จะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่โดดเดี่ยวและทำให้เขารู้สึกว่าเขาได้รับความสนับสนุนจากคนรอบข้างนะ ไม่มีใครมองว่าเขาเป็นภาระเลย
6. ให้พูดคุยหรือพบเจอคนอื่นๆ บ้าง
ปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าไปมาก การที่จะได้พบเจอหรือพูดคุยถือเป็นเรื่องที่ง่ายมากๆ ดังนั้นควรหาเวลาให้ผู้ป่วยได้พูดคุยออนไลน์กับคนอื่นๆ บ้าง เช่น เพื่อน, สมาชิกในครอบครัวคนอื่นๆ ที่ได้ได้เจอนาน เป็นต้น เรื่องนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกโดดเดี่ยวเลย
7. ให้กำลังใจทางกายแก่ผู้ป่วย
ช่วยทำกายภาพบำบัดเบาๆ ให้กับผู้ป่วยติดเตียง หรือการช่วยเคลื่อนไหวตามคำแนะนำจากแพทย์ จะช่วยให้เขามีความหวังในกระบวนการฟื้นฟู คอยช่วยยืดเส้นยืดสายเพื่อให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลายและไม่ตึงเครียด
8. ส่งเสริมให้ผู้ป่วยดูแลตนเอง
กระตุ้นให้ผู้ป่วยรู้สึกมีคุณค่าในการดูแลตัวเอง เช่น การให้เขาเลือกเสื้อผ้าที่เข้ารู้สึกชอบ ,การดูแลความสะอาด หรือการได้ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
9. พาออกไปสัมผัสธรรมชาติบ้าง (กรณีที่สามารถออกไปได้)
การพาออกไปข้างนอกบ้าง พาไปสูดอากาศธรรมชาติ หรือพาไปสวนสาธารณะจะช่วยเสริมสร้างความรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่ามากขึ้น
การดูแลผู้ป่วยติดเตียงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะนอกจากต้องดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจของผู้ป่วยแล้ว ยังต้องดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจของตัวเองด้วย คุณจะต้องใช้ความเสียสละอย่างมากสำหรับการดูแลผู้ป่วย เช่น เวลา, สุขภาพ, ความเป็นส่วนตัว, อารมณ์และจิตใจ การพักผ่อนและอื่นๆ อีกมากมาย อย่าลืมที่จะดูแลตัวเองและไม่ต้องกังวลหากทุกอย่างไม่สมบูรณ์แบบ คุณมีความสำคัญและเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนรอบข้างมากกว่าที่คุณคิด…
มายลักษณ์เนอร์สซิ่งโฮม ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง พร้อมให้คำปรึกษาโดยผู้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญและมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลอยู่ตลอด 24 ชม. มีทีมแพทย์และพยาบาลผู้มีประสบการณ์ให้การดูแลผู้สูงอายุละผู้ป่วยติดเตียงอย่างเหมาะสมและปลอดภัยด้วยความมืออาชีพ เพื่อให้ผู้สูงอายุละผู้ป่วยติดเตียงมีคุณภาพชีวิตดีที่สุด ติดต่อสอบถาม @mylucknursinghome
บทความที่คุณอาจสนใจ

วิธีแก้ปัญหาผู้ป่วยติดเตียงเบื่ออาหาร

5 ปัญหาสุขภาพจิตที่พบบ่อยในวัยสูงอายุ

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย พร้อมคำแนะนำในการรับมือ

เนอร์สซิ่งโฮม ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ศูนย์ดูแลผู้ป่วยมายลักษณ์ รับสมัครพนักงานหลายอัตรา

กิจกรรมผู้สูงอายุสนุกๆ มีอะไรบ้าง? มาลองดูไอเดียกัน
