วิธีดูแลผู้ป่วยที่เป็นแผลกดทับ วิธีการทำวามสะอาดและ การเลือกที่นอนสำหรับแผลกดทับ
1,126 views | 1 ปีที่แล้ว
แผลกดทับ ควรรักษาทำความสะอาดอย่างไร และเลือกที่นอนหรืออุปกรณ์ยังไงดี
เมื่อตัวเราเองหรือคนในครอบครัวมีอาการเป็นแผลกดทับ เราจะต้องปฏิบัติและดูแลอย่างไร โดยเฉพาะการทำความสะอาดแผลภายนอกอย่างไร และการเลือกที่นอนให้เหมาะกับผู้ป่วยก็ถือเป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน หากดูแลรักษาอย่างถูกต้องก็จะบรรเทาและหายจากอาการเหล่านี้ได้เร็วขึ้น
การรักษาทำความสะอาดผู้ป่วยแผลกดทับ
- น้ำเปล่าหรือสบู่ที่มีค่า pH5.5
ใช้ทำความสะอาดผิวหนังทุกวันเป็นประจำหลังการขับถ่ายปัสสวะ อุจจาระ จากนั้นซับบริเวณผิวหนังให้แห้งโดยห้ามขัดหรือถูเด็ดขาด - โลชั่น วาสลีน ครีมหรือ Ointment
ช่วยป้องกันผิวหนังที่ถูกทำลายจากความเปียกชื้นในผู้ป่วยที่มีปัญหาการควบคุมการขับถ่าย และเพื่อป้องกันการเสียดสีกับที่นอน เพื่อลดความเสี่ยงจากผิวหนังถูกทำลาย - ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (diaper)
ใช้เฉพาะผู้ป่วยที่ควบคุมปัสสวะและอุจจาระตัวเองไม่ได้ แต่ถ้าผู้ป่วยที่สามารถปัสสวะและอุจจาระได้ก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้ผ้าอ้อม เพราะอาจทำให้เกิดความอับชื้น และการเสียดสีได้ - วัสดุปิดแผล
ใช้ปิดตามปุ่มกระดูก เช่น ข้อศอก ตาตุ่ม และส้นเท้า เพื่อเป็นป้องกันการเสียดสีกับที่นอน และห้ามนวดผิวบริเวณปุ่มกระดูกเด็ดขาด
การเลือกที่นอนสำหรับผู้ป่วยแผลกดทับ
- เตียงนอนที่ปรับระดับการนอนและสามารถจัดท่านอนของผู้ป่วยได้
- ที่นอนลม ควรวัดยะระห่างของฝ่ามือระหว่างอุปกรณ์รับแรงกด (ที่นอนหรือเบาะรองนั่ง) กับตำแหน่งที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ 2.5 เซนติเมตร
- หมอนสอดคั่น ต้องใช้สอดคั่นระหว่างขาทั้งสองข้าง เพื่อป้องกันการเสียดสีและแรงกดทับระหว่างปุ่มกระดูก
- หมอนหรือผ้ารองใต้น่องขา ใช้ยกส้นเท้าให้ลอยขึ้นจากพื้นเตียง
- เก้าอี้หรือรถเข็นที่มีพนักพิง มีที่วางแขนและพักเท้าสำหรับผู้ป่วยแผลกดทับ เก้าอี้จะต้องไม่ยาวหรือแคบมากเกินไป มีระยะห่างระหว่างขาพับกับเก้าอี้อย่างน้อย 2 นิ้วมือ
- ไม่ควร!! ใช้ถุงมือยางใส่ถุงน้ำร้อน มารองรับบริเวณปุ่มกระดูก ส้นเท้า นอกจากจะไม่สามารถกระจายแรงกดแล้วจะช่วยเพิ่มแรงกดทับไปอีก
- หลีกเลี่ยง!! การใช้อุปกรณ์รูปโดนัท เพราะจะเพิ่มแรงกดทับ ทำให้บวม และเกิดอาการเลือดคลั่งขึ้นได้
การดูแลผู้ป่วยแผลกดทับนั้น ควรมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วย ผู้เชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยจึงสำคัญ มายลักษณ์ เนอร์สซิ่งโฮม เรามีอุปการณ์การดูแลผู้ป่วยอย่างครบครัน มีผู้เชี่ยวชาญและคุณหมอ ที่คอยบริการและดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
บทความที่คุณอาจสนใจ
กินอะไรเสี่ยงต่อการเป็นเก๊าท์ ? เรามีคำตอบ
4,024 views | 4 ปีที่แล้ว
สุขภาพช่องปาก ภัยเงียบที่ส่งผลร้ายต่อผู้สูงอายุ
565 views | 2 ปีที่แล้ว
อาการผมร่วง สัญญาณอันตราย! บอกถึงภัยร้ายที่อาจมาเยือน
1,006 views | 1 ปีที่แล้ว
ต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน จะจัดห้องผู้ป่วยติดเตียงยังไงดี? My Luck มีคำตอบ
1,071 views | 1 ปีที่แล้ว
กิจกรรมผู้สูงอายุสนุกๆ มีอะไรบ้าง? มาลองดูไอเดียกัน
5,646 views | 6 เดือนที่แล้ว