ไขความลับวิธีการสื่อสารกับผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า

461 views | 3 ปีที่แล้ว

ไขความลับวิธีการสื่อสารกับผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า
        ในปัจจุบันผู้ดูแลส่วนมากมักขาดความรู้ความเข้าใจในการสื่อสารกับผู้สูงอายุหรือคนชราที่มีภาวะซึมเศร้า ทำให้ไม่สามารถเข้าใจถึงความคิดอารมณ์และความต้องการของผู้สูงอายุส่งผลให้ผู้สูงอายุที่ซึมเศร้าถูกมองข้ามและไม่ได้รับดูแลช่วยเหลือ การสื่อสารกับผู้สูงอายุที่ซึมเศร้ามีหลักการสำคัญคือการรับฟังอย่างมีคุณภาพ ด้วยความตั้งใจ เข้าใจ ไม่ตัดสินการสื่อสารที่มีคุณภาพจึงเป็นกุญแจสำคัญของบุคลากรด้านสุขภาพ ในการช่วยลดภาวะซึมเศร้า ความโดดเดี่ยวอ้างว้าง ความเครียด และภาวะพึ่งพิงในผู้สูงอายุ 
 

การสื่อสารที่ควรหลีกเลี่ยง

            การสื่อสารที่ควรหลีกเลี่ยงเช่น อย่าคิดมากไปเอง คนทุกคนก็เป็นเหมือนกัน จงมองโลกในแง่ดี มีเรื่องราวมากมายที่จะต้องทำ เพราะอะไรจึงไม่อยากมีชีวิตอยู่ ยังมีคนอื่นที่แย่กว่า จงมีความรู้สึกที่ดีๆกับตัวเอง จงมองโลกในแง่บวกมองโลกอย่างสดใสเป็นต้น เพราะจะแสดงถึงความไม่เข้าใจและไม่เกิดประโยชน์ต่อผู้สูงอายุหรือคนแก่ที่มีภาวะซึมเศร้า แต่ควรใช้การสื่อสารด้วยวิธีดังต่อไปนี้
 

10 วิธีการสื่อสารกับผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า

1.รับฟังปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าอย่างใส่ใจด้วยความเมตตาและเข้าใจ ผู้เพราะที่มีภาวะซึมเศร้าต้องการคนที่รับฟัง โดยไม่ ตัดสินหรือให้คำแนะนำ  ไม่ขัดจังหวะ
 
2.ผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า มีความต้องการความรัก ความเข้าใจ และต้องการได้รับการดูแลที่มากขึ้น ทำให้อยากพูดคุยกับผู้อื่นบ่อยๆ และผู้ดูแลบ้างท่านอาจแสดงความหงุดหงิดไม่พอใจ ซึ่งทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเอง ไม่มีคุณค่า ไม่มีประโยชน์ ไม่เป็นที่ต้องการยิ่งขึ้น 
 
3. ผู้สูงอายุที่ซึมเศร้ามักมีอาการ อ่อนเพลีย หมดเรี่ยวแรง และบางรายบกพร่องการได้ยิน ทำให้ยากที่จะเข้าใจการสื่อความหมายควรเข้าใจและคำถึงการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย
 
4.มีความเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้น กับผู้สูงอายุขณะที่สื่อสาร เช่นผู้สูงอายุแสดงอารมณ์ หงุดหงิด บางครั้งดุด่า ตะโกน หรือบางรายไม่พูดจา ไม่ต้องการให้ใครมาอยู่ใกล้  เป็นอาการแสดง ของการเจ็บป่วย มิใช่แกล้งทำหรือไม่พอใจผู้ดูแล
 
5.ผู้สูงอายุที่ซึมเศร้า มักมีปัญหาด้านความจำและการตัดสินใจ ทำให้ผู้สูงอายุยากลำบากในการจดจำ เหตุการณ์ต่างๆ ต้องตระหนักและมีความอดทนใน การสื่อสาร
 
6.ขณะที่สื่อสารผู้สูงอายุแสดงความหงุดหงิด ก้าวร้าวทางวาจา ควรรับฟังอย่างสงบ ไม่แสดงปฏิกิริยาโต้ตอบโดยใช้ท่าทาง 
 
7.ผู้สูงอายุที่ซึมเศร้า แยกตัว พูดน้อย มักขาดสมาธิ หลงลืมและเชื่องช้าควรให้เวลาในการคิด การโต้ตอบ
 
8.เคารพในภูมิหลังของผู้สูงอายุ โดยเปิดโอกาสให้แสดง ความคิดเห็นและแสดงความรู้สึกด้วยความเคารพ แม้ไม่เห็นด้วยก็ตาม
 
9.เปิดโอกาสให้พูดถึงความเศร้าโศกเสียใจที่ผ่านมาเพราะเป็นไปไม่ได้ที่ผู้สูงอายุจะไม่มีประสบการณ์ การสูญเสีย 
 
10.อย่าปลอบใจผู้สูงอายุว่าชีวิตยังมีคุณค่าและสถานการณ์ต่างๆจะดีขึ้นเอง ความเศร้าโศกจะดีขึ้น ซึ่งไม่ได้ช่วยอะไรได้แต่จะทำให้ผู้สูงอายุคิดว่าเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่เห็นความสำคัญ ผู้สูงอายุจะเสียใจเศร้าใจมากขึ้น
 
 
             ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุเป็นการเจ็บป่วยทางจิตใจชนิดหนึ่งที่ตอบสนองต่อความผิดหวัง ความสูญเสีย หรือการถวิลหาสิ่งที่ขาดหายไป ดังนั้นการสื่อสารที่ดีจึงเป็นกุญแจสำคัญของการลดภาวะซึ่มเศร้าในผู้สูงอายุ สำหรับผู้ป่วยมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้านี้ mylucknursinghome สามารถให้คำปรึกษากับคุณหมอได้ หรือสามารถเข้ามาใช้บริการได้ เราเป็น สถานที่ดูแลผู้สูงอายุ และสถานที่รับผู้ป่วยติดเตียง เราจะดูแลคนสำคัญของคุณให้เหมือนคนในครอบครัวของเรา
facebook Mylucknursinghome Line Mylucknursinghome

โทรหาเรา

ประชาอุทิศ 45: 080-8160115
พระราม 5 - ปิ่นเกล้า: 080-8165672
ฉุกเฉิน: 081-657-3328

อีเมลหาเรา

ที่อยู่

Myluck Nursing home (มายลักษณ์เนอร์สซิ่งโฮม)
สาขาประชาอุทิศ 45: 16 ซ.ประชาอุทิศ 45 ถ.ประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร 10140
สาขาพระราม 5 - ปิ่นเกล้า: 99/10 สินธราซอย 3 ต.บางสีทอง อ.บางกรวย นนทบุรี 11130
https://liff.line.me/1645278921-kWRPP32q/?accountId=euq6746d