ผู้สูงอายุ กับปัญหาท้องผูก พร้อมคำเเนะนำจากแพทย์

ผู้สูงอายุ กับปัญหาท้องผูกเป็นสิ่งที่มักเกิดคู่กันปัญหากวนใจเกี่ยวกับสุขภาพของผู้สูงอายุ อาการ “ท้องผูก” เป็นปัญหาอันดับต้นๆ ซึ่งเป็นเรื่องท้าทายที่ต้องจัดการกันในแต่ละวัน ยิ่งอายุมากขึ้นโอกาสท้องผูกก็ยิ่งมากขึ้น และผู้หญิงมักมีปัญหานี้มากกว่าผู้ชาย ยิ่งถ้าเป็น ผู้สูงอายุที่ติดเตียงหรือมีกิจกรรมน้อย พบว่ามีภาวะท้องผูกสูงถึง 80%
อาการของท้องผูกในผู้สูงอายุ
** หากพบว่ามีอาการอย่างน้อย2ใน3ข้อ ถือว่ามีอาการท้องผูก ควรรีบหาทางแก้ไข **
- ขับถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งใน 1 สัปดาห์
- อุจจาระแข็งผิดปกติ หรือจับเป็นก้อน
- ขับถ่ายยาก หรือขับถ่ายเองไม่ได้ ต้องให้ช่วยบ่อยๆ เป็นเวลากว่า 6 เดือน
การดูแลรักษาอาการท้องผูกในวันสูงอายุเบื้องต้น
อาการท้องผูก เกิดจากการมีเศษอุจจาระเกาะกันแน่นแข็ง ค่อนข้างแห้ง ในลำไส้ใหญ่ของเรา จึงเกิดการอุดตัน หากไม่รุนแรงมากนักเราสามารถที่จะพยายามช่วยให้เศษอาหารเคลื่อนเหล่านี้ เคลื่อนไปได้ด้วยการทำให้เศษอาหารเหล่านี้ชุ่มน้ำ และ ช่วยให้ท่อขยับบีบตัว ก้อนอุจจาระที่อุดตัน ก็จะค่อยๆออกมา การแก้ไขการท้องผูกในเบื้องต้นนั้น ทำได้โดยการปรับเรื่องน้ำ ใยอาหาร และการเคลื่อนไหวร่างกายดังนี้
1. ดื่มน้ำให้เพียงพอ :
ผู้สูงอายุมักดื่มน้ำน้อย มักเลี่ยงการดื่มน้ำ อาจเพราะเข้าห้องน้ำเองไม่สะดวก จึงคิดเอาเองว่ากินน้ำให้น้อยลง ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ดีต่อร่างกาย การถ่ายยากหรือท้องผูก เป็นสัญญาณบ่งบอกว่า ร่างกายได้รับน้ำไม่เพียงพอ
ผู้สูงอายุควรดื่มน้ำ อย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน หรือ 1.5-2 ลิตร (ยกเว้นผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว หรือไตวายที่ต้องจำกัดน้ำ) ควรมีขวดใส่น้ำที่บอกปริมาตรไว้ประจำตัว เพื่อที่จะได้รู้ว่าในแต่ละวัน ดื่มน้ำเพียงพอหรือไม่ และควรเตรียมความสะดวกในการปัสสาวะ ไม่ให้เดินไกลเกินไป หรืออาจใส่ผ้าอ้อมอนามัย เพื่อลดปัญหาการเดินเข้าห้องน้ำบ่อย
2. รับประทานอาหารที่มี "ใยอาหาร" ให้เพียงพอ :
ใยอาหารมีหลากหลายชนิด แต่ใยอาหารชนิดละลายน้ำเป็นชนิดที่ช่วยให้ขับถ่ายได้ดี เพราะอุ้มน้ำทำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม เคลื่อนตัวได้ง่าย เช่น ใยอาหารจากผลไม้เช่น แอบเปิ้ล ลูกพรุน ส้มกล้วย ข้าวโอ๊ต ถั่ว เป็นต้น
ส่วนใยอาหาร ที่มีการสังเคราะห์ ที่มีชื่อเฉพาะว่า "พรีไบโอติกส์" (Pre-biotics) ได้แก่ ฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์(สายสั้น) และ อินนูลิน(สายยาว) เป็นใยอาหารละลายน้ำที่มีคุณสมบัติพิเศษคือ ช่วยเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ดีในลำไส้ได้ ทำให้ช่วยกระตุ้นการขับถ่ายและเสริมภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย
3. รับประทานอาหารเช้าทุกวัน
ช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างเหมาะสมในเวลาที่เหมาะสม เพราะมื้อเช้าเป็นมื้อที่จำเป็นต่อการใช้พลังงานในแต่ละวัน และกระตุ้นให้เกิดการขับถ่ายเป็นเวลาทุกวัน
4. ออกกำลังกายและเคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ เพื่อให้ลำไส้เลื่อนไหวได้ดีขึ้น
5. ทานอาหารเสริมยับยั้งป้องกัน :
กินอาหารที่มีจุลินทรีย์สุขภาพ หรือที่เรียกว่า "โพรไบโอติกส์" ระบบทางเดินอาหาร (ลำไส้เล็ก-ลำไส้ใหญ่) เป็นอวัยวะที่สำคัญต่อการย่อย-ดูดซึม-ขับถ่าย และยังเป็นอวัยวะภูมิคุ้มกันขนาดใหญ่ของร่างกายอีกด้วย ซึ่งการได้รับจุลินทรีย์สุขภาพ (โพรไบโอติกส์ ; Pro-biotics) จะช่วยให้สุขภาพลำไส้ดีขึ้นได้
อาการ "ท้องผูก" มักจะมาคู่กันกับ "ยาสวนทวาร"
ยาสวนทวารเพื่อการรักษาอาการท้องผูก อย่างเช่น Unison Enema ทำให้เกิดกระบวนการออซโมซิสในลำไส้ใหญ่ได้เกิดการอุ้มน้ำภายในมากขึ้น ซึ่งเป็นผลกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่ ทำให้ขับถ่ายได้ดีขึ้น สามารถรักษาได้ในผู้ที่ท้องผูกแต่ไม่ควรใช้ติดต่อเป็นเวลานาน ญาติควรดูแลถึงการรับประทาน การดื่มน้ำ หรือการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะตัวยาอาจมีผลข้างเคียงสำหรับบางคนเมื่อใช้เป็นเวลานาน
ผู้ที่ควรระวังในการใช้ยาสวนทวาร
- ผู้ที่เป็นไตวายเรื้อรัง ควรอ่านส่วนประกอบให้ถี่ถ้วน หากมี เกลือฟอสเฟต ห้ามใช้เด็ดขาด
- ผู้ป้วยเลือดออกทางทวารหนัก มีแผล หรือ ปวดก้นมาก
- ผู้ป่วยปวดท้องรุนแรง ลำไส้อักเสบ ลำไส้อุดตัน
- ผู้ที่ผ่าตัดลำไส้ใหม่ๆ
- คนท้อง คนให้นมบุตร
อาการท้องผูกในวัยสูงอายุถือเป็นเรื่องปกติที่สามารถพบเจอได้ทั่วไป แต่ไม่ควรปล่อยละเลยเพราะจะเป็นสาเหตุของโรคลำไส้และโรคทางเดินอาหารตามมา ทางศูนย์ดูแลผู้สูงอายุมายลักษณ์เนอร์ซิ่งโฮม มีความใส่ใจดูแล เรื่องการโภชนาการและการทำกายภาพที่ส่งผลดีต่อระบบทางเดินอาหารให้กับผู้สูงอายุแและผู้ป่วยทุกท่าน และพร้อมให้คำแนะนำ หากผู้ที่ต้องการปปรึกษาเพิ่มเติมสามารถทักเข้ามาสอบถามได้ค่ะ
บทความที่คุณอาจสนใจ

เนอร์สซิ่งโฮมต่างจากบ้านพักคนชราอย่างไร ?

ผู้สูงอายุกับความเสี่ยงโรคโควิด 19 (Covid-19)

งานอดิเรกสำหรับผู้สูงอายุ เพิ่มคุณค่าและความสุขในการใช้ชีวิต

กินอะไรเสี่ยงต่อการเป็นเก๊าท์ ? เรามีคำตอบ

รับสมัครผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ พยาบาลดูแลผู้ป่วย และผู้สูงอายุ ประจำศูนย์มายลักษณ์
