โรคซึมเศร้าในวัยผู้สูงอายุ

1,947 views | 5 ปีที่แล้ว

โรคซึมเศร้าในวัยผู้สูงอายุ

โรคซึมเศร้าในวัยผู้สูงอายุ

วัยผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบันเชื่อว่าทุกบ้านต้องมีผู้สูงอายุหรือผู้ที่กำลังเข้าสู่วัยสูงอายุ

ซึ่งคนกลุ่มนี้จะมีความอ่อนไหวมากขึ้นจากเดิม ต้องการความดูแลเอาใจใส่จากคนรอบข้างมากขึ้น

เมื่อสิ่งเหล่านี้เขาได้รับไม่เพียงพอ อาจก่อให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับสุขภาพจิตขึ้นมาได้ นั่นคือ โรคซึมเศร้าในวัยผู้สูงอายุและโรควิตกกังวลในผู้สูงอายุ

 

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าในวัยผู้สูงอายุ

ด้านจิตใจ

  • มีเหตุการณ์ร้ายแรงที่มากระทบกระเทือนความรู้สึก เช่น การสูญเสียคนที่รัก เป็นโรคทางร่างกายที่ร้ายแรง หรือปัญหาด้านการเงิน

  • ขาดการดูแลเอาใจใส่จากครอบครัว และคนรอบข้าง

ด้านร่างกาย

  • โรคทางกายบางอย่างที่มักเกิดในผู้สูงอายุ เช่น ภาวะสมองเสื่อม หลอดเลือดสมองอุดตัน โรคพาร์กินสัน โรคต่อมธัยรอยด์ มะเร็งของตับอ่อน เป็นต้น

  • กรรมพันธ์ุ หากคนในครอบครัวของคุณ เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง เคยป่วยด้วยโรคซึมเศร้ามาก่อน คุณก็อาจมีความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน

  • มีการขาดหรือลดน้อยลง ของสารสื่อประสาทบางชนิดในสมอง ยกตัวอย่างเช่น ความผิดปกติของสารเคมีภายในสมอง สารเคมีในสมองของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด โดยมีสารเคมีที่มีชื่อว่าเซโรโทนิน (Serotonin) และนอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine) ลดน้อยลงจากเดิม ทำให้สมดุลของสารเหล่านี้เปลี่ยนไปและเกิดความบกพร่องในการทำงานร่วมกัน
     

อาการโรคซึมเศร้าในวัยผู้สูงอายุ

ผู้เป็นโรคซึมเศร้ามักไม่สนใจตัวเอง กินน้อยหรือไม่กินเลย เบื่อหน่ายการใช้ชีวิต ไม่นอน ไม่ออกกำลังกาย ไม่ทำกิจกรรม ไม่รับประทานยาตามสั่ง ทำให้ภาวะโภชนาการและความแข็งแรงของร่างกายลดลง โรคประจำตัวอื่นๆจะควบคุมได้ยากขึ้น หากไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่สภาพอารมณ์ของผู้สูงวัยอาจแย่ลงต่อเนื่องไปนานจนทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมได้
 

แนวทางแก้ไขโรคซึมเศร้าในวัยผู้สูงอายุ

  • ให้ความเอาใจใส่ ดูแล และเข้าใจความรู้สึกของผู้ป่วย โดยการคุยกันและฟังกันให้มากขึ้น

  • ไม่ทิ้งผู้ป่วยไว้ตามลำพัง ควรมีคนคอยดูแลอยู่เสมอ

  • ไม่ควรปรับลดหรือเพิ่มยาเอง

  • มาพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ

วิธีป้องกันโรคซึมเศร้าในวัยผู้สูงอายุ

  • หางานอดิเรกทำ เช่น ทำอาหาร หรือต่อจิกซอว์ ผู้ป่วยอาจไม่รู้สึกสนุกนัก แต่กิจกรรมยามว่างเหล่านี้จะช่วยสร้างสมาธิและทำให้สามารถจดจ่อกับสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้น

  • ตั้งเป้าหมายเล็กๆ ในชีวิตประจำวัน ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้ามักรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่าและไม่มีความสามารถ การตั้งเป้าหมายเล็กๆ จะช่วยสร้างกำลังใจให้แก่ผู้ป่วย

  • ออกกำลังกาย การออกกำลังกายทำให้สารเอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) ที่ช่วยให้รู้สึกมีความสุขหลั่งออกมา ทั้งยังช่วยกระตุ้นสมองให้ตื่นตัวมากขึ้นในระยะยาว โดยผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาหนักๆ แค่เดินออกกำลังสัปดาห์ละ 2-3 ครั้งก็เพียงพอ

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ แม้จะรู้สึกเบื่ออาหาร แต่ผู้ป่วยก็ควรพยายามรับประทานอาหารที่สด สะอาด และรับประทานให้ครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นและมีพลังงาน

  • นอนพักผ่อนให้เพียงพอ แม้การนอนจะเป็นเรื่องที่ควบคุมได้ยากมากในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า แต่การพักผ่อนให้เพียงพอ ประมาณ 6-8 ชั่วโมง จะช่วยให้ลืมความกังวลไปได้ชั่วขณะ และเมื่อตื่นขึ้นมาร่างกายและสมองก็จะมีความพร้อมต่อการทำกิจกรรมในแต่ละวันมากขึ้น

 

โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่สามารถเกิดได้ทุกเพศทุกวัยแต่ยิ่งเมื่อมีอายุมากขึ้นโรคซึมเศร้านี้อาจจะเกิดขึ้นได้ง่ายกับผู้สูงอายุ ลูกหลานควรจะให้ความดูแลเอาใจใส่มากขึ้น ไม่เช่นนั้นคนสำคัญในบ้านของท่านอาจจะต้องเป็นโรคซึมเศร้า จนไปถึงกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียงในที่สุด สำหรับผู้ป่วยที่มีอากาเหมือนอย่างที่กล่าวมา หรือคาดว่าจะมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้านี้ mylucknursinghome สามารถให้คำปรึกษากับคุณหมอได้ หรือสามารถเข้ามาใช้บริการได้ เราเป็น สถานที่ดูแลผู้สูงอายุ และสถานที่รับผู้ป่วยติดเตียง เราจะดูแลคนสำคัญของคุณให้เหมือนคนในครอบครัวของเรา


 

facebook Mylucknursinghome Line Mylucknursinghome

โทรหาเรา

ประชาอุทิศ 45: 080-8160115
พระราม 5 - ปิ่นเกล้า: 080-8165672
ฉุกเฉิน: 081-657-3328

อีเมลหาเรา

ที่อยู่

Myluck Nursing home (มายลักษณ์เนอร์สซิ่งโฮม)
สาขาประชาอุทิศ 45: 16 ซ.ประชาอุทิศ 45 ถ.ประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร 10140
สาขาพระราม 5 - ปิ่นเกล้า: 99/10 สินธราซอย 3 ต.บางสีทอง อ.บางกรวย นนทบุรี 11130
https://liff.line.me/1645278921-kWRPP32q/?accountId=euq6746d