ภาวะแทรกซ้อนที่ควรระวังในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง
ในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นมีข้อคำนึงหลายด้านที่เราควรคิดให้รอบคอบ เพราะหากละเลยอาจจะเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและอาจอันตรายต่อชีวิตของผู้ป่วย ซึ่งภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงมีดังนี้
แผลกดทับ
ผู้ป่วยติดเตียงจะไม่สามารถขยับร่างกายหรือเปลี่ยนท่านอนเองได้ เมื่อนอนท่าไหนก็จะอยู่ท่านั้นตลอด จึงทำให้เกิดแผลกดทับในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ผู้ดูแลจึงควรหมั่นพลิกตัวผู้ป่วยติดเตียงทุก ๆ 2 ชั่วโมง และสำรวจร่างกายผู้ป่วยทุกวันว่ามีแผลถลอกในส่วนไหนเพื่อรักษาแผลได้ทันการณ์ ก่อนที่จะลุกลามเป็นแผลกดทับเรื้อรัง
ปอดติดเชื้อ
เกิดจาก 2 สาเหตุ คือการสำลักอาหารและการสำลักน้ำลาย เมื่อผู้ป่วยสำลักอาหารก็จะทำให้อาหารบางส่วนไหลลงสู่หลอดลมและอาจเข้าไปติดอยู่ในปอด ทำให้ปอดอักเสบ เกิดการติดเชื้อ หรือบางรายมีการสำลักน้ำลาย ซึ่งในน้ำลายจะมีเชื้อโรคและแบคทีเรียบางชนิดที่เวลาเกิดการสำลักจะไหลลงสู่หลอดลม และทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับปอดได้
ติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ
เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบมากในผู้ป่วยหญิง เพราะมีท่อปัสสาวะสั้นกว่าฝ่ายชาย เมื่อผู้ป่วยกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานจะทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตและเกิดการติดเชื้อได้ และสามารถเกิดได้จากการรักษาความสะอาดไม่ดี เช่น ขับถ่ายแล้วเช็ดจากหลังมาหน้า ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ติดเชื้อ หรือการใส่สายสวนปัสสาวะนานจึงทำให้เกิดการหมักหมมของเชื้อโรค
ท้องผูก
เกิดจากการทานอาหารที่มีกากใยน้อย ดื่มน้ำน้อย และเคลื่อนไหวน้อย ดังนั้นผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงจึงควรกายภาพให้ผู้ป่วยเพื่อให้กล้ามเนื้อได้เหยียดบ้าง และควรปรับอาหารให้มีผัก ผลไม้ที่กากใย เพราะหากผู้ป่วยมีการท้องผูกเรื้อรังก็จะส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมอื่น ๆ ได้
ข้อยึดติด
เมื่อผู้ป่วยติดเตียงไม่ได้เคลื่อนไหวต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะทำให้ข้อต่อต่าง ๆ ในร่างกายยึดติด คดงอ เราจึงควรกายภาพขั้นพื้นฐานให้ผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้กล้ามเนื้อได้มีการยืดเหยียด
ในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงเป็นการดูแลที่ต้องได้รับการเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด และมีการสังเกตการณ์เพื่อดูพฤติกรรมของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ มายลักษณ์เนิร์สซิ่งโฮม ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง จึงมีการวางแผนดูแลผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง ท่านจึงวางใจได้เลยว่าผู้ป่วยที่เราดูแลจะอยู่ในสายตาของทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและพยาบาลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยมาอย่างใกล้ชิด