วิธีให้อาหารทางสายยางของผู้ป่วยติดเตียง มีอะไรบ้าง? ที่ต้องเตรียม

เพราะอาหารคือแหล่งพลังงานสำคัญของร่างกาย เราจึงควรรับประทานอาหารครบหมวดหมู่และมีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะสำหรับผู้ป่วย การรับประทานอาหารตามโภชนาการจะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เหมาะสม และหายจากการเจ็บป่วยได้ไวขึ้น ส่วนในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถทานรับประทานอาหารทางปากด้วยตัวเองได้ ทางการแพทย์ก็ได้มีวิธีให้อาหารทางสายยาง เพื่อให้ร่างกายยังได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนตามหลักโภชนาการอยู่
วันนี้ Myluck Nursing Home เลยมีสาระน่ารู้เกี่ยวกับการให้อาหารทางสายยางผู้ป่วยติดเตียงมาฝากกัน
การให้อาหารทางสายยางมีกี่แบบ ?
-
การให้อาหารทางสายยาง ผ่านทางจมูก
โดยใช้สายยางที่สามารถโค้งงอได้อย่างอิสระ สอดท่อผ่านรูจมูก ผ่านคอลงไปจนถึงกระเพาะอาหาร
-
การให้อาหารทางสายยาง ผ่านทางปาก
วิธีนี้ จะเป็นการใส่สายยางผ่านทางปาก และให้อาหารเดินทางผ่านหลอดอาหารเข้าไปยังกระเพาะอาหารเอง
-
การให้อาหารทางสายยาง ผ่านทางหน้าท้อง
เป็นการเจาะผ่านทางหน้าท้องของผู้ป่วย เพื่อต่อท่อสายยางเข้าไปยังกระเพาะอาหารของผู้ป่วยโดยตรง
อุปกรณ์ในการให้อาหารทางสายยาง มีอะไรบ้าง ?
- อาหารเหลว / อาหารปั่น หรืออาหารสำเร็จรูปของผู้ป่วย ตามที่แพทย์ได้แนะนำ
- กระบอกสำหรับใส่อาหาร เพื่อใช้ป้อนเข้าสู่สายยางให้อาหาร
- อุปกรณ์ทำความสะอาดฆ่าเชื้อ อย่างเช่น แอลกอฮอล์, สำลี เป็นต้น
- สบู่ทำความสะอาด ใช้ในการล้างมือก่อนทำการให้อาหารทางสายยาง
- สายยางให้อาหาร ที่มีมาตรฐาน แนะนำให้เลือกเกรดการแพทย์
- เครื่องให้อาหารทางสายยาง (ถ้าไม่มี ก็สามารถให้อาหารผ่านสายยางโดยการใช้มือได้)
วิธีให้อาหารทางสายยางของผู้ป่วยติดเตียง
-
เตรียมอาหาร สำหรับการให้อาหารทางสายยางของผู้ป่วยติดเตียง จะต้องใช้อาหารปั่น (สูตรเฉพาะสำหรับผู้ป่วย) ควรใช้อาหารเหลวที่เตรียมไว้ไม่เกิน 8 ชั่วโมง
-
จัดท่าให้พร้อม สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ได้มีข้อห้ามทางการแพทย์หรือข้อห้ามจากแพทย์ สามารถจัดท่านอนเอน ให้ศีรษะผู้ป่วยอยู่สูงประมาณ 30-45 องศาได้ แต่ถ้าหากผู้ป่วยมีเสมหะ ไม่สามารถเอาเสมหะออกเองได้ ควรให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งตัวตรง หรือยกระดับเตียงให้ศีรษะสูงมากกว่า 30 องศา
-
ประเมินอาการผู้ป่วย เช็กความพร้อมของผู้ป่วย ถ้าหากมีเสมหะมาก ให้ทำการดูดเสมหะเพื่อเคลียร์ทางเดินหายใจให้โล่งก่อนการให้อาหารทางสายยางทุกครั้ง
- ประเมินการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ฟังเสียงความเคลื่อนไหวของลำไส้ก่อนอาหาร และตรวจตำแหน่งของสายให้อาหารก่อนทำการให้อาหารทางสายยางทุกมื้อพร้อมตรวจสอบอาหารที่อยู่ในกระเพาะของผู้ป่วย โดยการใช้กระบอกดูดน้ำออกจากกระเพาะ ถ้าหากมีปริมาณเกิน 50 cc ให้เลื่อนการให้อาหารไปอย่างน้อย 1 ชั่วโมง และค่อยทำการประเมินอีกครั้ง
- การให้อาหารผ่านสายยาง เทอาหารเหลวที่เตรียมไว้ลงในกระบอก โดยหนึ่งครั้งไม่ควรเกิน 50 cc แล้วยกกระบอกให้มีระดับสูงเหนือผู้ป่วยประมาณ 30 cm จากนั้น ค่อย ๆ ปล่อยให้อาหารเคลื่อนตัวเข้าสู่สายยางอย่างช้า ๆ หรือกรณีใช้เครื่องให้อาหารทางสายยาง เครื่องจะค่อย ๆ ทำงานไปตามกลไก
- ทำความสะอาดผู้ป่วยหลังการให้อาหารผ่านสายยาง ให้น้ำตามหลังประมาณ 25-50 ml หลังจากที่ให้อาหารผ่านสายยางเสร็จเรียบร้อย เพื่อป้องกันอาหารค้างในสายยาง พร้อมทำความสะอาดช่องปากของผู้ป่วยทั้งก่อนให้อาหาร, หลังให้อาหาร และตอนก่อนนอนอยู่เสมอ โดยการจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนตะแคงกึ่งนั่ง และทำการแปรงฟันให้สะอาดโดยใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์
- ทำความสะอาดอุปกรณ์หลังการให้อาหารผ่านสายยาง เก็บสายยางและอุปกรณ์ต่าง ๆ พร้อมเช็ดทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์
ที่ My Luck Nursing Home มีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลผู้ป่วยติดเตียง
ข้อควรระวังในการให้อาหารทางสายยาง
-
ระวังการสำลัก
ถ้าหากผู้ป่วยมีอาการไอ ให้หยุดให้อาหารทันที และพักการให้อาหารจนกว่าผู้ป่วยจะหยุดไอจึงค่อยให้อาหารทางสายยางต่อ แต่ถ้าหากผู้ป่วยสำลัก ให้หยุดให้อาหารทันทีเช่นกัน และรีบจัดผู้ป่วยให้นอนตะแคงหน้าไปในทางใดทางหนึ่ง และทำการดูดอาหารที่สำลักออกมาให้หมด
-
ระวังอาหารไหลย้อนกลับ
หลังจากให้อาหารเสร็จแล้ว ควรให้คนไข้อยู่ในท่านั่งพักประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้อาหารไหลย้อนกลับออกมา
-
ระวังสายยางหลุดจากกระเพาะ
หากสายยางเลื่อนหลุดออกจากตำแหน่ง และไม่ได้อยู่ในกระเพาะอาหาร ควรรีบพาผู้ป่วยไปหาแพทย์ อย่าทำการต่อสายยางด้วยตัวเอง
-
ให้อาหารทางสายยาง อาหารไม่ลง
หากอาหารเหลว มีความหนืดข้นมากเกินไป อาจจะทำให้เป็นอุปสรรคในการไหลได้ ฉะนั้นควรมีการเตรียมอาหารตามสูตรโดยพอดี
(อ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ ข้อควรระวังในการให้อาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วย)
เพราะอาหารเป็นสิ่งสำคัญต่อร่างการ ผู้ป่วยติดเตียงเองก็ต้องการสารอาหารเหล่านี้เช่นกัน การให้อาหารทางสายยางที่ถูกต้องจึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ผู้ดูแลสามารถช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยติดเตียงได้ แต่ถ้าหากผู้ดูแลอาจไม่สะดวกในการป้อนอาหารหรือไม่มีเวลาดูแล แนะนำให้พาผู้ป่วยติดเตียงเข้ารักษาตัวที่ศูนย์ดูแลผู้ป่วย เพื่อให้ได้อยู่ในการดูแลรักษาโดยบุคลากรทางการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
บทความที่คุณอาจสนใจ

เนอร์สซิ่งโฮม (Nursing Home) คือ อะไร ?

ผู้สูงอายุ กับปัญหาท้องผูก พร้อมคำเเนะนำจากแพทย์

ข้อควรระวังในการให้อาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วย

ผู้สูงอายุกับภาวะนอนไม่หลับที่ไม่ควรมองข้าม
