การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย พร้อมคำแนะนำในการรับมือ

การรับมือกับวาระสุดท้ายของชีวิต คงเป็นอะไรที่ยากจะรับมือ และยาก … ที่จะทำใจ และสำหรับท่านใดที่มีญาติหรือคนที่คุณรักกำลังประสบกับการเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย เราขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านฝ่าความโศกเศร้าในครั้งนี้ไปให้ได้ : )
บทความนี้ My Luck Nursing Home จะอยากจะพามาทำความเข้าใจ พร้อมให้สาระความรู้ในการเตรียมพร้อมรับมือ กับกรณีที่มี “ผู้ป่วยระยะสุดท้าย” … ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ อาการผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิต, การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย หรือการเตรียมใจ เราลองมาอ่านกันต่อได้เลย
ผู้ป่วยระยะสุดท้าย หมายถึงผู้ป่วยแบบใด?
ผู้ป่วยระยะสุดท้าย เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยทางการแพทย์แล้วว่า มีอาการเจ็บป่วยของโรคหรือภาวะที่เกิดขึ้น โดยไม่สามารถรักษาให้หายได้ เป็นการดำเนินเข้าสู่ช่วงสุดท้ายของชีวิต และโดยมากจะมีชีวิตอยู่ต่อได้อีกไม่นาน
โรคระยะสุดท้าย มีอะไรบ้าง ?
โรคร้ายที่มักรักษาให้หายขาดได้ยากและเป็นอันตรายถึงชีวิต ที่พบได้และเป็นสาเหตุได้บ่อย ได้แก่
- โรคมะเร็ง ที่อยู่ในระยะลุกลาม
- โรคไต ระยะสุดท้าย
- โรคชรา
- โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ALS
- โรคเซลล์ประสาทสั่งการเสื่อม
- ภาวะสมองเสื่อม
- ภาวะเส้นเลือดในสมองแตก
อาการผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิต มีอย่างไรบ้าง ?
- ผู้ป่วย จะเริ่มไม่ค่อยรู้สึกอยากอาหาร และไม่หิวน้ำ
- อาจสูญเสียประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่น การได้ยิน การมองเห็น รวมถึงอาจเริ่มส่งผลต่อการพูด
- มีอาการอ่อนแรงเป็นอย่างมาก จนเคลื่อนไหวได้น้อยลง และอยากนอนตลอดเวลา
- อาการภายนอกที่สังเกตได้ เช่น อาการกระสับกระส่าย, ผิวพรรณดูซีด, ปากแห้ง ตาแห้ง, เริ่มมีอาการหายใจติดขัดจนเสียงดัง, เริ่มไม่มีสติรู้ตัว
- การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ เริ่มถดถอยลง จนอาจไม่สามารถทำงานต่อได้
- ผู้ป่วยบางราย อาจจากไปอย่างสงบ แต่ก็มีบางรายที่อาจเจ็บปวดทุรนทุรายจนแสดงอาการออกมา
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ญาติต้องทำอย่างไรบ้าง ?
การที่ญาติต้องแจ้งข่าวให้ตัวผู้ป่วยได้ทราบ หรือตัวผู้ป่วยเองจะต้องเป็นผู้แจ้งสถานการณ์ให้คนที่รักได้ทราบ คงเป็นเรื่องยากที่ต้องทำใจ แต่เพื่อที่จะได้เตรียมพร้อมและเตรียมใจ อย่างไร ท้ายที่สุดก็ควรต้องมีการพูดคุยกันระหว่างผู้ป่วยและญาติ เพื่อผลดีในระยะยาวกับทุกฝ่าย โดยสิ่งที่ญาติจะสามารถช่วยดูแลได้ ได้แก่
- การจัดเตรียมสถานที่เพื่อดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
- ดูแลแบบประคับประคอง ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เพื่อให้ทุกฝ่ายได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ภายในช่วงเวลาที่ยังอยู่ร่วมกัน
- ร่วมกันตัดสินใจทำความตกลงเรื่องแผนการดูแลล่วงหน้าไปด้วยกัน
- ให้ผู้ป่วยได้ทำตามความปรารถนาครั้งสุดท้าย
- เตรียมการล่วงหน้าให้พร้อม ก่อนผู้ป่วยจะถึงวาระสุดท้าย ไม่ว่าจะเป็น การจัดพิธีทางศาสนา, การจัดการกับความเศร้า, พินัยกรรม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหลักจากผู้ป่วยได้ล่วงลับไปแล้ว
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้าน ต้องเตรียมตัวอย่างไร ?
หากญาติได้ทำการตกลงร่วมกับผู้ป่วยระยะสุดท้ายในการกลับไปรักษาตัวที่บ้านเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่จะต้องเตรียมตัว มีดังนี้
- แจ้งแพทย์ผู้รักษา เพื่อให้แพทย์ช่วยวางแผนในการดูแล
- เตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็น
- การเตรียมยาตามที่แพทย์สั่ง
- การเตรียมอาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วย
- การดูแลอาการต่าง ๆ
- เตรียมสภาพแวดล้อมในบ้าน เช่น ห้องนอน ควรจะมีพื้นที่ขนาดใหญ่พอที่จะวางเตียงนอน และที่จัดเก็บอุปกรณ์ หรือห้องน้ำ ก็ควรมีราวจับ (tie-in ไปบทความ
- เครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับใช้ในการพยาบาล
หลังจากที่ผู้ป่วยระยะสุดท้ายและญาติได้ตกลงในการตัดสินใจจะกลับไปรักษาที่บ้านแล้ว
ควรแจ้งแพทย์ให้รับทราบด้วย เพื่อจะได้ร่วมกันวางแผนรักษา
มองหาศูนย์ดูแลผู้ป่วย หรือโรงพยาบาลดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
สำหรับท่านใดที่อาจจะไม่สะดวกในการเดินทางไปดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย หรืออาจไม่ดีมีสถานที่เหมาะแก่การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย แนะนำให้ท่านลองพิจารณาศูนย์ดูแลผู้ป่วย หรือโรงพยาบาลดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เป็นอีกทางเลือก เพื่อที่จะได้ให้ผู้ป่วยอยู่ในการดูแลของบุคลากรทางการแพทย์ที่เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์โดยตรง พร้อมทั้งช่วยลดความเครียดที่อาจเกิดขึ้นกับคนในครอบครัวในอีกทาง
ศูนย์ดูแลผู้ป่วย My Luck Nursing Home
บทความที่คุณอาจสนใจ

การป้องกันและวิธีรักษาแผลกดทับในผู้ป่วยติดเตียง

คำแนะนำสำหรับการพักฟื้นหลังผ่าตัด

ภัยจากการทานยาในผู้สูงอายุ ที่คนดูแลผู้สูงอายุไม่ควรมองข้าม!!!

โรคที่พบได้มากในผู้สูงอายุ ภัยเงียบที่อาจมาโดยไม่ทันตั้งตัว มีอะไรบ้าง

ข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ: รู้ทันสาเหตุ สังเกตอาการ พร้อมวิธีดูแลให้เดินสบาย
