ไตเสื่อม!! ไตวาย!! เรื่องใกล้ตัวของผู้สูงอายุ

ไตเสื่อมและไตวาย ใช่โรคเดียวกันไหม?
คำตอบคือ … ไตเสื่อมและไตวาย ไม่ใช่โรคเดียวกัน แต่เป็นภาวะอาการที่เกี่ยวข้องกัน
- ไตเสื่อม หมายถึง การที่ การทำงานของไตลดลงเรื่อยๆ อาจจะเกิดจากสาเหตุต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน หรือการติดเชื้อเรื้อรัง (ไตเสื่อมมักจะเป็นภาวะที่นำไปสู่ไตวายได้ในระยะยาว)
- ไตวาย หมายถึง การที่ภาวะไต ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ หรือไม่ทำงานเลย ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้อย่างฉับพลัน (ไตวายเฉียบพลัน) หรือค่อย ๆ เสื่อมจนกลายเป็นไตวายเรื้อรัง
เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายของเราจะเริ่มมีการเสื่อมสภาพตามธรรมชาติ และหนึ่งในอวัยวะที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ "ไต" ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการกรองของเสียและขับออกจากร่างกาย หากไตไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ก็อาจนำไปสู่ภาวะ "ไตเสื่อม" หรือ "ไตวาย" ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ
โรคไตเสื่อม ไตวาย อันตรายต่อผู้สูงอายุยังไง?
- ลดประสิทธิภาพในการกรองของเสีย
- เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
- อาการผิดปกติจากการบำบัด เช่น ฟอกเลือดหรือการปลูกถ่ายไต
- เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
- ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ภาวะกระดูกเปราะบาง, ภาวะซีดจากการผลิตเม็ดเลือดแดงลดลง เป็นต้น
อาการแบบนี้ คุณอาจกำลังเผชิญกับโรคไตเสื่อม,ไตวาย!!
อาการบวม
บวมที่ขา, เท้า, ข้อเท้า หรือใบหน้า โดยเฉพาะตอนเช้าหลังตื่นนอน ซึ่งอาจเกิดจากการที่ไตไม่สามารถขับน้ำส่วนเกินออกจากร่างกายได้
การเปลี่ยนแปลงในปัสสาวะ
ปัสสาวะมีลักษณะที่เปลี่ยนไป เช่น สีขุ่น, มีฟอง หรือมีเลือดปน นอจากนี้หากมีอาหารปัสสาวะน้อยลงหรือปัสสาวะบ่อยก็อาจจะเป็นโรคไตเสื่อม,ไตวาย ได้
เหนื่อยล้าและอ่อนเพลีย
เกิดจากการที่ไตไม่สามารถขจัดของเสียได้ ทำให้ของเสียสะสมในเลือด
เบื่ออาหาร
อาจรู้สึกคลื่นไส้และท้องอืด รวมถึงมีอาการคลื่นไส้หรืออาเจียน
ความดันโลหิตสูง
การทำงานของไตลดลงอาจทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
คันตามผิวหนัง
การสะสมของของเสียในร่างกายอาจทำให้เกิดอาการคันที่ผิวหนัง
หายใจลำบาก
เมื่อของเสียสะสมในร่างกายอาจทำให้เกิดปัญหาทางระบบหายใจ
ความผิดปกติของการนอนหลับ
อาจมีปัญหาในการนอนหลับเนื่องจากการบวมหรือการขัดขวางการหายใจ
อาการแบบนี้อันตราย!! ต้องรีบพบแพทย์ทันที…
- หากมีอาการบวมอย่างรุนแรง หรือปัสสาวะผิดปกติอย่างชัดเจน
- หากรู้สึกอ่อนเพลียมาก จนไม่สามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติ
- หากมีอาการปวดหลังหรือเอวพร้อมกับไข้
- หากมีอาการคลื่นไส้หรืออาเจียนที่รุนแรงโดยไม่สามารถทานอาหารได้
ดูแลผู้สูงอายุอย่างไร? หากเป็นผู้ป่วยไตเสื่อม ไตวาย
-
ควบคุมโรคประจำตัวที่เป็นอยู่
- ความดันโลหิต ความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้โรคไตเสื่อมรุนแรงขึ้น ควรตรวจสอบความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอและใช้ยาลดความดันตามคำแนะนำของแพทย์
- ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หากมีโรคเบาหวาน ควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ เพื่อป้องกันไม่ให้ไตได้รับความเสียหายเพิ่มเติม
- ติดตามไขมันในเลือด การควบคุมระดับคอเลสเตอรอลและไขมันในเลือดช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งอาจทำให้ไตเสื่อมลงได้
-
ควบคุมอาหารและโภชนาการ
- งดเค็มลดโซเดียม ควรลดการบริโภคเกลือหรือน้ำตาลในอาหาร เนื่องจากจะช่วยลดความดันโลหิตและป้องกันการบวมน้ำ
- จำกัดโปรตีน หากเป็นโรคไตเสื่อมในระยะเริ่มต้น การควบคุมปริมาณโปรตีนในการบริโภคสามารถช่วยลดการทำงานหนักของไตได้
- ควบคุมการบริโภคโปแตสเซียมและฟอสฟอรัส เช่น กล้วย, ถั่ว, ผักใบเขียว และพวกเนื้อสัตว์ หรืออื่นๆ
- การดื่มน้ำ ดื่มให้พอเหมาะ ตามคำแนะนำของเเพทย์ ระวังเรื่องอาการบวม เพระาอาจเกิดจากการบวมน้ำได้
-
ติดตามอาการและตรวจสุขภาพ
- ตรวจเลือดและปัสสาวะ
- ติดตามสัญญาณการบวมน้ำ ควรติดตามอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันภาวะที่รุนแรงขึ้น
- สังเกตอาการผิดปกติ เช่น ปัสสาวะลดลงหรือไม่มีปัสสาวะ อาเจียน เบื่ออาหาร หรือเหนื่อยล้ามากเกินไป
-
ดูแลเรื่องการทานยาและใช้ยาอย่างถูกต้อง
- หลีกเลี่ยงยาที่เป็นอันตรายต่อไต เช่น ยาแก้อักเสบ (NSAIDs) หรือยาบางประเภทที่อาจทำให้ไตเสื่อมลง ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนใช้ยาใหม่
- ใช้ยาในปริมาณที่เหมาะสม ตามคำแนะนำของแพทย์
- การตรวจเลือดเพื่อตรวจหาผลข้างเคียงจากยา เช่น การตรวจค่าว่าระดับยาในเลือดเหมาะสมหรือไม่
-
จัดการกับภาวะแทรกซ้อน
- รักษาอากาบวม จัดการกับการจำกัดการบริโภคน้ำและเกลือ และติดตามระดับของเหลวในร่างกาย
- จัดการกับความดันโลหิตสูง การใช้ยาลดความดันและควบคุมการรับประทานอาหารช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับความดันโลหิตสูง
- ป้งอกันการติดเชื้อ เพราะผู้ที่มีโรคไตเสื่อมมักมีความเสี่ยงในการติดเชื้อสูง
-
การฟอกไต (ในกรณีที่จำเป็น)
หากโรคไตเสื่อมถึงระยะที่ไตไม่สามารถทำหน้าที่ได้ดี หรือหากเกิดไตวาย (AKI) อาจจำเป็นต้องใช้การฟอกไตเพื่อกรองของเสียออกจากร่างกายจนกว่าไตจะกลับมาทำงานได้ตามปกติ
-
ดูแลด้านจิตใจและให้กำลังใจผู้ป่วยเสมอ
- การให้กำลังใจ ผู้สูงอายุที่มีโรคไตเสื่อมอาจรู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของตนเอง การให้กำลังใจและความเข้าใจเป็นสิ่งสำคัญในการดูแลจิตใจ
- การให้ความร่วมมือในการรักษา การช่วยให้ผู้สูงอายุรับประทานยาและปฏิบัติตามคำแนะนำจากแพทย์อย่างเคร่งครัดจะช่วยในการควบคุมโรคไตได้ดีขึ้น
การดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคไตเสื่อมและไตวายต้องมีความเอาใจใส่และติดตามอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสมและมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดในสภาวะที่มีโรคไต Myluck Nursing Home ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง สามารถช่วยดูแลคนที่คุณรักได้ตลอด 24 ชั่วโมงอย่างใกล้ชิด พร้อมแพทย์และบุคลากรที่มีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยด้วยความรักและความเข้าใจ ติดต่อสอบถาม @mylucknursinghom
บทความที่คุณอาจสนใจ

การป้องกันและวิธีรักษาแผลกดทับในผู้ป่วยติดเตียง

รับสมัครผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ พยาบาลดูแลผู้ป่วย และผู้สูงอายุ ประจำศูนย์มายลักษณ์

อุปกรณ์สำคัญ เมื่อต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน ควรมีอะไรบ้าง?

ฟื้นฟูผู้สูงอายุ ด้วยท่าออกกำลังกายง่ายๆ

เคล็ดลับดูแลผู้สูงอายุติดเตียง 24 ชั่วโมง ให้ปลอดภัยและสุขสบาย
