ตากระตุกไม่ใช่เรื่องของโชคลาง แต่อาจเป็นโรคร้ายที่คุณคาดไม่ถึง

อาการ “ตากระตุก” อาจเป็นอาการที่เคยเกิดขึ้นกับหลายคน และอาจเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง จนทำให้คิดว่านี่คือเรื่องปกติธรรมดาที่เกิดความเหนื่อยล้าหรือมีความเครียด แต่จริงๆ แล้วนี่ไม่ใช่เรื่องของโชคลางหรือความผิดปกติเล็กน้อยของร่างกายเสมอไป เพราะอาจเกิดจากการกระตุกของกล้ามเนื้อตาที่ไม่สามารถควบคุมได้ นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพที่รุนแรง เช่น ความผิดปกติของระบบประสาท หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อประสาท ซึ่งจะต้องทำการรักษาอย่างจริงจัง
ในบทความนี้ เราจะมาพูดถึงสาเหตุที่ทำให้ตากระตุก วิธีการดูแลสุขภาพตา และอาการแบบไหนที่ควรรีบไปพบคุณหมอหรือปรึกษาแพทย์ เพราะนี่อาจจะไม่ใช่อาการที่เกิดขึ้นธรรมดาจนคุณสามารถมองข้ามได้อีกต่อไป
สาเหตุที่ทำให้ตากระตุก
1. ความเครียด
2. พักผ่อนไม่เพียงพอ (นอนน้อย)
3. การใช้สายตานานเกินไป
4. การขาดแร่ธาตุ (ขาดแมกนีเซียมหรือโพแทสเซียม)
5. การใช้สารกระตุ้นมากเกินไป (คาเฟอีน, แอลกอฮอล์ หรือบุหรี่)
6. อาการจากโรคบางชนิด เช่น โรคพาร์กินสัน หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท
7. การแพ้ มีอาการระคายเคือง หรือโรคภูมิแพ้
8. การใช้ตาเจอมลภาวะหรือปัจจัยภายนอกมากเกินไป เช่น แสงสว่าง, แสงจ้า, ลม หรือมลพิษทางอากาศ
อาการตากระตุกที่ควรพบแพทย์
1. ตากระตุกติดต่อกันนานๆ
หากเริ่มมีอาการตากระตุกเป็นเวลานานๆ เกิน 1-2 สัปดาห์ โดยไม่มีท่าทีจะเบาลงเลย อาจเป็นสัญญาณอันตรายบางอย่างที่ควรรีบเข้าพบปรึกษาแพทย์ เพื่อให้ประเมินอาการหาสาเหตุในลำดับถัดไป
2. ตากระตุกและมีอาการเจ็บปวดร่วมด้วย
เริ่มเป็นอาการที่รุนแรงมากขึ้น ในขณะที่ตากระตุกแล้วเริ่มมีอาการเจ็บปวดเกิดขึ้นด้วย หรือมีอาการที่ไม่สามารถควบคุมได้ ควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์และรักษาตามอาการ
3. ตากระตุก 2 ข้างพร้อมกัน
โดยปกติถ้าตากระตุกแบบทั่วไป มักจะกระตุกเพียง 1 ข้าง แต่หากมีอาการตากระตุก 2 ข้างพร้อมกันแล้ว อาจเป็นสัญญาณเตือนเรื่องความผิดปกติในระบบประสาท ควรได้รับการตรวจจากแพทย์โดยละเอียด
4. มีอาการอื่นร่วมด้วย
ในขณะที่ตากระตุกแล้วเริ่มมีอาการอื่นเกิดขึ้นร่วมด้วย เช่น มองเห็นไม่ชัด, ตามัว, ตาเบลอ, ปวดตา, ปวดหัว หรือมีอาการอ่อนแรง ขาชา ด้วย นั่นอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงปัญหาของระบบประสาท หรือโรคอันตรายอื่นๆ ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุให้ชัดเจนและรักษาในลำดับถัดไป
5. เมื่อตากระตุกแล้วมีอวัยวะอื่นกระตาม
หากมีการกระตุกที่กล้ามเนื้อตาเกิดขึ้น แล้วส่วนอื่นๆ มีการกระตุกตาม เช่น แก้ม, ริมฝีปาก, แขน, ขา อาจแสดงถึงปัญหาทางระบบประสาท เช่น โรคพาร์กินสัน หรือมีความผิดปกติต่อการควบคุมกล้ามเนื้อ หากเป็นเช่นนี้ ต้องรีบปรึกษาและเข้ารับการรักษาจากแพทย์เฉพาะทางเช่นกัน
การรักษาอาการตากระตุก
เบื้องต้น หากดูแลตัวเองเบื้องต้นแล้วไม่หาย เช่น นอนหลับพักผ่อนเพียงพอ ไม่ใช้สายตานานจนเกินไปแล้ว หรือหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้ตากระตุกใดๆ แล้ว ยังเกิดอาการตากระตุกอยู่ แนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาตามอาการต่อไป
1. การรับประทานยา
จะต้องรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น เพื่อช่วยลดหรือบรรเทาอาการตากระตุกชั่วคราว ซึ่งก็ควรระวังเรื่องผลของเคียงของยาแต่ละชนิด ควรใช้ยาภายใต้คำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
2. การฉีด Botox
การฉีด Botox ไม่ได้ช่วยแค่เรื่องความสวยความงามเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้ในการรักษากล้ามเนื้อหดเกร็งควบคุมไม่ได้ด้วย โดยได้รับการรับรองจากแพทย์แล้ว Botox จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ช่วยบล็อกไม่ให้เส้นประสาทส่งสัญญาณไปที่กล้ามเนื้อให้เกิดการกระตุก
ทั้งนี้ทั้งนั้น “ตา” ถือว่าเป็นอวัยวะที่ละเอียดอ่อน หากใครที่กลัวว่าจะมีอาการตากระตุกเกิดขึ้นกับตัวเอง ควรหลีกเลี่ยงสาเหตุที่จะทำให้เกิดอาการนี้ได้ เช่น นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำเยอะๆ ไม่นำสารกระตุ้นเข้าสู่ร่างกายจนมากเกินไป และหลีกเลี่ยงการใช้สายตาในแสงไฟหรือแสงแดด (ใส่แว่นกันแดดเพื่อป้องกันได้) และหากว่าคุณได้ดูแลตัวเองจนครบทุกข้อแล้ว แต่มีอาการตากระตุกเกิดขึ้น ก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาหรือรักษาในลำดับถัดไป
เรื่องสุขภาพถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเป็นสิ่งที่เงินก็ไม่อาจซื้อได้ เมื่อตัวเราเองสุขภาพร่างกายแข็งแรง ก็จะสามารถเริ่มดูแลคนอื่นหรือคนในครอบครัวให้ดีตามด้วยเช่นกัน มายลักษณ์เนอร์สซิ่งโฮม พร้อมดูแล เรามีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาเรื่องสุขภาพ และพยาบาลคอยดูแลตลอด 24 ชม. สนใจติดต่อ @mylucknursinghome
บทความที่คุณอาจสนใจ

มายลักษณ์เนอร์สซิ่งโฮมรับสมัครพยาบาลวิชาชีพ ดูแลผู้สูงอายุ

ท่ากายบริหารสำหรับผู้สูงอายุ

ภาวะแทรกซ้อนที่ควรระวังในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง

อาหารเร่งฟื้นฟูสำหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัด

การป้องกันและวิธีรักษาแผลกดทับในผู้ป่วยติดเตียง
